โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

การทดลองและการผลิตวัคซีนโควิด-19

หลายประเทศมีความคืบหน้าในการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมทั้งในประเทศไทยเอง โดยมีการทดสอบในกลุ่มคนทั้งสิ้น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาความปลอดภัยและปริมาณวัดซีนที่ใช้ โดยจะทำการทดสอบวัคซีนในอาสาสมัครจำนวนหลักสิบคน
ระยะที่ 2 เป็นการขยายการทดสอบในอาสาสมัครจำนวนหลักร้อยถึงหลักพันคน เพื่อยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
ระยะที่ 3 เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน และติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ซึ่งต้องทดสอบในอาสาสมัครจำนวนหลายหมื่นคน
เกณฑ์การผลิตวัคซีนโควิด-19 ในภาวะฉุกเฉิน
1. มีประสิทธิภาพ 50% ขึ้นไป
2. ฉีดทดลองในอาสาสมัครเกินครึ่งหรือ 10,000 คน นาน 2 เดือน
3. หากฉีดครบ 6 เดือน จะทำการประเมินเป็นวัคซีนในภาวะปกติต่อไป
4. ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย คุณภาพ ประสิทธิภาพจากองค์การอาหารและยา
ความคืบหน้าการทดลองและผลิตวัคซีนในไทย
วัคซีน mA ในชื่ Chula-Cov19 ที่ผลิตโดย ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อทดลองในอาสาสมัครโดยคาดว่าจะเริ่มทดลองฉีดระยะที่ 1 ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 นี้

ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม


ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์