การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย
- กรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แนะนำให้ผู้ดูแลช่วยพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 1-2 ชั่วโมง ปรับระดับหัวเตียงสูงหรือพาผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งบริหารข้อต่อแขน ขา ด้วยการช่วยยืดเหยียดข้อต่อต่าง ๆ รอบละ 10 ครั้ง 2-3 รอบต่อวัน
- กรณีผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แนะนำให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง และทำท่ากายบริหารโดยมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ
- กรณีที่ผู้ป่วยเดินได้ แนะนำให้ผู้ป่วยฝึกเดินในพื้นที่ปลอดภัยโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินและมีผู้ดูแลอยู่ด้วย
- หากผู้ป่วยที่นัดพบแพทย์มีอาการคงที่หรือดีขึ้น สามารถเข้ารับการตรวจจากแพทย์ รวมถึงรับคำแนะนำด้านการฟื้นฟูผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ทดแทนการไปโรงพยาบาลเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19
- การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ ควรให้กำลังใจในการทำกายภาพไม่กดดัน รวมถึงหลีกเลี้ยงการก่อให้เกิดความเครียดต่อผู้ป่วย
การป้องกันผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19
- ผู้ป่วยและผู้ดูแลควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่อยู่ร่วมกัน
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยรวมถึงเมื่อกลับเข้าบ้านทุกครั้ง
- ทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่ถูกสัมผัสบ่อยด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ลูกบิด รีโมท โทรศัพท์ และราวกั้นเตียง เป็นต้น
- ลดการเยี่ยมผู้ป่วยจากบุคคลภายนอก แนะนำการเยี่ยมทางโทรศัพท์ หรือ การโทรศัพท์ภาพ (Video Call)
- ห้ามผู้ที่มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น มีไข้ ไอ เข้าเยี่ยมผู้ป่วยโดยเด็ดขาด
ข้อมูล ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2564
ที่มา : อ. พญ.ทิมภ์พร วิทูรพงศ์