โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

การคัดกรองผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19โดยสุนัขดมกลิ่นในพื้นที่สนามบิน

  1. เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อสุนัขดมกลิ่นและครูฝึกสุนัขจะไม่ถูกฝึกให้ดมกลิ่นจากผู้ป่วยที่สันนิษฐานว่ามีโอกาสติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยตรง
  2. ตัวอย่างเหงื่อจะถูกเก็บด้วยสำลีหรือผ้าแล้วบรรจุใส่ภาชนะพิเศษ ก่อนนำไปยังพื้นที่จำเพาะสำหรับสุนัขดมกลิ่น เพื่อทดสอบและระบุผู้ป่วยที่มีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds; VOCs) ที่จำเพาะกับการติดเชื้อโรคโควิด-19
  3. มีการคัดกรองผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยสุนัขดมกลิ่นในสนามบินฟินแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย ซึ่งพบว่าเมื่อใช้งานควบคู่ไปกับการวัดอุณหภูมิ สามารถเพิ่มความไว้และความแม่นยำของการกัดกรองผู้ป่วยได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งช่วยประหยัดทรัพยากรในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  4. ความคุ้มค่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดและงบประมาณที่ต่างกันของแต่ละประเทศ เมื่อสุนัขระบุคัดกรองให้ผลบวกแล้วยังคงจำเป็นต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีการมาตรฐาน RT-PCR จากสิ่งส่งตรวจทางเดินหายใจด้วย


การฝึกสุนัขดมกลิ่นเพื่อบ่งชี้โรคโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการในประเทศไทย

  • คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นทีมผู้วิจัยแรกของทวีปเอเชียที่ได้ฝึกสุนัขดมกลิ่น ภายใต้การสนับสนุนงบวิจัยจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด โดยเริ่มต้นฝึกสุนัขพันธุลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ จำนวน 6 ตัว เพื่อดมตัวอย่างเหงื่อจากผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 จำนวน 38 ราย และอาสาสมัครไม่เจ็บป่วย 40 ราย
  • ผลการทดสอบรวมมากกว่า 400 การทดสอบพบว่า มีความไว 97.6% ความจำเพาะ 85.7% และความแม่นยำ 95% ในการระบุตัวอย่างผู้ป่วยโรคโควิด-19 และยังพบว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อและอาสาสมัครที่ไม่ป่วย
  • ความสำเร็จของสุนัขที่แยกแยะกลิ่นของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ของผู้ป่วย ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการวางแผนพัฒนาและขยายผลนำไปใช้งานได้จริง เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในอนาคตที่คุ้มค่าต่อไป

ข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2564
ที่มา : อ. พญ.ปัทมา ต.วรพานิช และ ศ. สพ.ญ. ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์