โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

กระดูกพรุนหรือไม่ ?

ทราบได้ด้วยการตรวจความหนาแน่นของกระดูก

โรคกระดูกพรุน… มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีอาการ และทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อเกิดกระดูกหักแล้ว จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

  • นิยมใช้การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง DXA ซึ่งเป็นวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐาน
  • การตรวจทำในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและสะโพก

การเตรียมตัวก่อนการตรวจความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง DXA

  • รับประทานอาหารได้ปกติ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
  • หากเพิ่งได้รับสารทีบแสงจากการตรวจซีทีสแกน (CT SCAN) หรือตรวจทางเดินอาหารควรเลื่อนการตรวจออกไปประมาณ 1 สัปดาห์

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก เช่น

  • ผู้หญิงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ชายอายุ ตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน เช่น รับประทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ

ข้อมูล ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2564
ที่มา : รศ. พญ.คนึงนิจ กิ่งเพชร

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์