โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

กระดูกทับเส้น ไม่ต้องรอให้ถึงเลข 4 ก็มีอาการได้

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมมีอยู่สองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน อายุประมาณ 30 – 40 ปี และกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป  ในกลุ่มวัยทำงาน การเสื่อมสภาพที่เกิดได้บ่อย ได้แก่ ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน แต่กลุ่มอายุมากกว่า 50 ปี จะมีอาการจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม

อาการของกระดูกทับเส้นประสาท

เกิดอาการอ่อนแรง ขาชา ขาไม่มีแรง และอาจจะมีอาการเกี่ยวกับการควบคุมอุจจาระ ปัสสาวะได้ อาการมักจะเป็นมาก เวลานั่ง ยืน เดิน นาน หรือระหว่างเปลี่ยนท่าทาง 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดกระดูกทับเส้น

วัยทำงาน 
– น้ำหนักตัวมาก
– สูบบุหรี่จัด 
– นั่งทำงานนาน ๆ 
– ก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก

อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป  
– กิจกรรมที่ทำ เช่น นั่งนาน ๆ ยืนนาน ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก
– กล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรง
– ความเสี่ยงจากกรรมพันธุ์

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อกระดูกทับเส้น

1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดการยกของหนัก นั่งผิดท่า นั่งนาน
2 ลดน้ำหนัก
3 หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
4 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อท้อง
5 สังเกตอาการที่ต้องรีบมาพบแพทย์ ได้แก่ อาการปวดหลังเรื้อรังเกิน 3 เดือน อาการผิดปกติของการควบคุมปัสสาวะ อุจจาระ และอาการปวดชา ขาอ่อนแรง ที่เป็นมากขึ้น

เรื่อง : บทความจาก รศ. นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ  
ฝ่ายออร์โธปิดิกส์
ข้อมูล ณ วันที่  22 มีนาคม 2566

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์