โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์โรคหัวใจ

The Cardiac Center

ให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร เป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้ เผยแพร่แก่ประชาชนและสังคม

ให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร เป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้ เผยแพร่แก่ประชาชนและสังคม

เป็นศูนย์การแพทย์ตติยภูมิให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและ หลอดเลือดแบบครบวงจร มีเทคโนโลยีและเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย  ดูแลโดยทีมอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้เผยแพร่แก่ ประชาชนและสังคม

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วย สาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์หัวใจ และ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยาหัวใจและทรวงอก  ปัจจุบันได้ร่วมกับสาขาวิชาภาพถ่ายรังสีหัวใจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จากภาควิชารังสีวิทยาและ คณาจารย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริการผู้ป่วยสมบูรณ์และครบวงจรมากที่สุด

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม  ด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศ ยกระดับความสามารถทางการแพทย์และการรักษา พยาบาลของประเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

พันธกิจ

ให้การศึกษา ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศ ด้วยการค้นคว้า วิจัย สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ พัฒนาคุณภาพ การบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

ภารกิจหน่วยงานที่สนับสนุน

  1. ห้องตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology)
  2. กลุ่มงานตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Magnetic Resonance Imaging)
  3. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology)
  4. คลินิกสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)
  5. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)
  6. คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว และอายุรศาสตร์ การปลูกถ่ายหัวใจ (Heart Failure and Transplant Cardiology)
  7. หน่วยศัลยศาสตร์ทรวงอก

1. กลุ่มงานห้องตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology)

หน้าที่หลักและเป้าหมายของหน่วยงาน

ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทางระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและครบวงจร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา ทั้งนี้การให้บริการของห้องตรวจฯ มุ่งเน้นให้ความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้ป่วยเมื่อมารับบริการ สถานที่และบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ภายใต้การดูแลโดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทาง และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพ ได้รับการฝึกอบรบมาเป็นอย่างดี รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย มีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของศูนย์ฝึกอบรมการเรียนการสอน และแหล่งศึกษาดูงานของบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกประเทศอีกด้วย 

ขอบเขตการให้บริการ

ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทางระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

การให้บริการการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางผนังหน้าอก (Transthoracic Echocardiography) คือการตรวจการทำงานของหัวใจทุกๆมิติ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดย มีการตรวจตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึง การตรวจขั้นสูง (Advanced echocardiography) ได้แก่
    • 2-dimenstional echocardiography เป็นการตรวจการทำงานของหัวใจขั้นพื้นฐานเพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ การบีบตัวและคลายตัว การทำงานของลิ้นหัวใจ การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ และหากมีขึ้นบ่งชี้ในการตรวจหาผนังหัวใจรั่ว ซึ่งจะมีการฉีดน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยประเมินได้ (Agitated saline test)
    • 3-dimensional echocardiography ซึ่งช่วยให้แพทย์ประเมินความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้นได้ในแนวลึกแบบ 3 มิติ สามารถวิเคราะห์โรคได้แม่นยำมากขึ้น นำไปสู่การวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
    • การตรวจ Speckle tracking ซึ่งให้การวินิจฉัยการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจได้ละเอียด ตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกก่อนเกิดโรค และช่วยในการให้การพยากรณ์โรคได้ดีขึ้น
  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านหลอดอาหาร (Transesophageal  Echocardiography) คือการตรวจการทำงานของหัวใจผ่านสายตรวจเข้าทางหลอดอาหาร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นโดยมีการให้ conscious sedation ระหว่างทำหัตถการ เป็นการให้ยานอนหลับและยาลดอาการปวด ฉีดทางหลอดเลือดดำ ประกอบการให้อมและพ่นยาชาเฉพาะที่ที่ลำคอ ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บขณะทำการตรวจ รวมถึงการมีห้องพักฟื้นที่มีการตรวจติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากที่สุดภายหลังการทำหัตถการ
  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจร่วมกับการกระตุ้นหัวใจ (Stress echocardiography) เพื่อประเมินค้อวามผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจรวมถึงลิ้นหัวใจ ด้วยวิธีการตรวจหลายรูปแบบ ดังนี้
    • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภายหลังกระตุ้นหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Treadmill stress echocardiography – TSE)
    • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ระหว่างทำการกระตุ้นหัวใจด้วยการใช้ยา (Dobutamine – Atropine stress echocardiography – DSE)
    • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ภายหลังการกระตุ้นหัวใจด้วยการปั่นจักรยาน (Ergometry stress echocardiography)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (Exercise stress test – EST) เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกาย ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ การเต้นของหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการใช้เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Myocardial perfusion – MIBI) ร่วมกับทางสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram – ECG) ชนิดต่างๆ
    • 12-lead ECG
    • 15-lead ECG
    • Flecainide and Ajmaline challenge test ในผู้ป่วยสงสัยโรคไหลตาย Brugada syndrome
  • การตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดตามตัว (Holter monitoring) มีให้บริการการตรวจ 3 lead, 12 lead ได้ทั้ง 24, 48, 72 ชั่วโมง และ 7 วัน
  • การตรวจเตียงกระดกเพื่อวินิจฉัยการเป็นลมหมดสติ (Tilt table test – TTT)
  • การตรวจบันทึกความดันโลหิตติดตามตัว 24 ชั่วโมง (Ambulatory blood pressure monitoring – ABPM)
  • การตรวจวัดการอุดตันและความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle brachial index – ABI and Cardio Ankle vascular index – CAVI)
  • การตรวจประเมินสมรรถภาพร่างกาย ด้วยการเดินเร็วเป็นเวลา 6 นาที (Six-minute walk test – 6MWT)
  • การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยวิธีกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (Electrical Cardioversion) ภายหลังการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจทางหลอดอาหาร (Transesophageal echocardiography)
วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 80423-4, 80430

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

Website : https://chulalongkornhospital.go.th/cardiovascularmedicine

2. กลุ่มงานตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Magnetic Resonance Imaging)

การตรวจหัวใจโดยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (Cardiac Magnetic Resonance Imaging – CMR) เป็นวิธีการตรวจประเมินหัวใจอย่างละเอียด มีความสามารถในการบ่งบอกขนาด รูปร่าง และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประเมินภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และลักษณะพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจได้อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ มีส่วนช่วยให้การวินิจฉัย และประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจมีความถูกต้องแม่นยำ นำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเนื้องอกในหัวใจ รวมถึงโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นต้น

การทำงานของเครื่องตรวจเอ็มอาร์ไอ จะอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ โดยเหนี่ยวนำให้เกิดการตอบสนองของเนื้อเยื่อ ซึ่งจะส่งสัญญาณกลับมาประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างเป็นภาพของหัวใจ ด้วยหลักการดังกล่าว ผู้ป่วยจึงไม่ต้องสัมผัสกับรังสีใดๆ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัยมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอชนิดต่างๆ ดังนี้

  • Stress cardiac MRI เป็นการประเมินภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยการใช้ยากระตุ้น ได้แก่ ยา adenosine หรือ dobutamine
  • Perfusion cardiac MRI เป็นการตรวจหาความปกติและพังผืดของกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประเมินเยื่อหุ้มหัวใจ และก้อนเนื้องอกในหัวใจได้อีกด้วย
  • Viability study เป็นการตรวจการรอดชีวิตของกล้ามเนื้อหัวใจ หลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการทำบอลลูน หรือผ่าตัดบายพาสหรือไม่
  • Congenital heart study เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัย และวางแผนการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • Cardiac function assessment เป็นการตรวจขนาด รูปร่าง และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
  • Magnetic resonance angiography เป็นการตรวจประเมินหลอดเลือดบริเวณต่างๆของร่างกาย

ทั้งนี้กลุ่มงานตรวจเอ็มอาร์ไอหัวใจและหลอดเลือดยังมุ่งเน้นในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย โดยได้ดำเนินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และเปิดให้แพทย์รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ทั้งภายในและต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาดูงานอีกด้วย

วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 80423-4, 80430

3. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology)

พันธกิจ

หน่วยโรคหัวใจเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นภายใต้ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำของประเทศไทยที่ให้การรักษาโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด มีพันธกิจหลักเพื่อ

  1. เป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ และนานาชาติในการให้การดูแลรักษา รับส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด
  2. เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดโรคหัวใจเด็ก ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยขั้นสูง ทันสมัย มีความสุข มีความตั้งใจจะเป็นผู้นำในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กและโรคหัวใจแต่กำเนิดตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงผู้ใหญ่อย่างครบวงจร
  3. พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรม และต่อยอดงานวิจัยให้สนองตอบต่อความต้องการของดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  • ดูแลผู้ป่วยในหอผุ้ป่วยเด็กโรคหัวใจ อาคาร สก.ชั้น 6 และ ผู้ป่วยโรคหัวใจเด็กกึ่งวิกฤต อาคาร สก.ชั้น 6
  • ให้บริการคลินิกโรคหัวใจเด็ก อาคาร ภปร. ชั้น 9
  • ให้บริการคลินิกโรคหัวใจแต่กำเนิดในเด็กโตจนถึงผู้ใหญ่ อาคาร สก.ชั้น 6
  • ให้บริการตรวจคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ แบบผู้ป่วยนอก ห้องตรวจ Non invasive อาคาร สก. ชั้น 6
  • ให้บริการตรวจภาพหัวใจและหลอดเลือดทางรังสีขั้นสูง ได้แก่การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจในเด็กที่ห้องตรวจ MRI อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 และ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจในโรคหัวใจแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ ที่ห้องตรวจ MRI อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4
  • ให้บริการสวนหัวใจเพื่อการวินิจฉัยและรักษา รวมถึงการศึกษาและรักษาสรรีระไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด ที่ห้องตรวจ Cath lab อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A
  • ให้บริการให้คำปรึกษาและการสร้างภาพสามมิติชั้นสูงเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด อาคาร สก. ชั้น 6
  • ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดโรคหัวใจเด็ก
วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ
  • งานธุรการ
    • วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
  • คลินิกผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร. ชั้น 11
    • ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
  • หอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยโรคหัวใจกึ่งวิกฤต อาคาร สก. ชั้น 6
    • ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 4966

4. คลินิกสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)

วิสัยทัศน์

กลุ่มงานสรีระไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นกลุ่มงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล มีความพร้อมในการรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศได้อย่าครอบคลุม

พันธกิจ
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทั้งโดยการปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ หรือการส่งต่อผู้ป่วยผ่านโรงพยาบาลศูนย์เข้ามารับการรักษายัง Chulalongkorn Advanced Cardiac Arrhythmia Center (CACAC)
  2. เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์ประจำบ้านต่อยอด Electrophysiology
  3. เพื่อเป็นศูนย์กลางให้แพทย์ทั่วไปตามโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศสามารถส่งคำปรึกษาและใช้ระบบสื่อการสอนของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ และการพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ มีการพัฒนาคุณภาพ การบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

กลุ่มงานสรีระไฟฟ้าหัวใจ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นกลุ่มงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล หน่วยงานของเรามีความพร้อมและความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มาเป็นเวลายาวนาน ทั้งในด้านการให้การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าหัวใจ (catheter ablation) และการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หัวใจ (cardiac implantable electronic device, CIED) นอกจากนี้กลุ่มงานของเรายังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศได้อย่างครอบคลุม สำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามนวัตกรรมสากลเพื่อให้มีความทันสมัย อาทิเช่น มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดใหม่ หรือ conduction system pacing (His bundle pacing และ left bundle branch pacing) มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบไร้สาย (leadless pacemaker) มีการนำเข้าเทคโนโลยีฝังเครื่องกระตุกหัวใจชนิดใต้ผิวหนัง (subcutaneous implantable cardioverter defibrillator, subcutaneous ICD)  และมีการริเริ่มหัตถการถอดสายอุปกรณ์ออกโดยใช้เลเซอร์ (laser-assisted lead extraction) ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานของเรายังส่งเสริมการทำวิจัย ให้การสนับสนุนและจัดการเรียนการสอนด้านวิชาการ อาทิเช่น จัดกิจกรรม “EKG workshop” ทุกปี เพื่อให้แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด รวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสนใจ มีโอกาสได้เข้าร่วม แลกเปลี่ยน และเพิ่มพูนความรู้เพื่อให้เข้ากับวิสัยทัศน์ขององค์กร กล่าวคือ “การดูแลแบบครบวงจร มีบูรณภาพ ทันสมัย และเป็นเลิศ”

วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ
  1. คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker Clinic) อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 12
    • ให้บริการในทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 16.00 น (ยกเว้นวันพฤหัสดี สัปดาห์ที่ 5 ของเดือน)
  2. คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia Clinic) อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 12
    • ให้บริการในทุกวันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น.
  3. คลินิก Syncope อาคาร ภปร. ชั้น 14
    • ให้บริการในทุกวันศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น.
  4. คลินิกทำหัตถการสรีระไฟฟ้าหัวใจ (ผู้ใหญ่) อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A
    • ให้บริการในทุกวันจันทร์ – ศุกร์  เวลา 08.00 – 16.00 น. (ในเวลาราชการ)
    • ให้บริการในวันเสาร์ – อาทิตย์  เวลา 08.00 – 16.00 น. (นอกเวลาราชการ)
  5. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A
    • ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 
ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

ID Line: 065 304 7189, 061 292 1160 (EP CHULA)

5. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)

พันธกิจ
  1. ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศด้านการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่อง และการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาล
  2. สนับสนุนการค้นคว้า วิจัย ฝึกอบรม และบริการวิชาการที่เป็นแหล่งอ้างอิงได้ในระดับสากล      
  3. บริหารจัดการองค์กรให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพทางการเงิน มีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของบุคลากร

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

การตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคต่างๆด้วยการทำหัตถการและใช้อุปกรณ์ที่มีความทันสมัย ทั้งหมด 5 กลุ่มโรค ดังนี้  

  1. กลุ่มผู้ป่วยโรคระบบหลอดเลือดหัวใจตีบ
  2. กลุ่มผู้ป่วยโรคระบบลิ้นหัวใจ/ห้องหัวใจผิดปกติ 
  3. กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ 
  4. กลุ่มผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วผิดปกติ   
  5. กลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 80405–9

6. คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

เกี่ยวกับ Heart Failure and Transplant Cardiology

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเกิดจากสภาวะ ที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีอาการ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไม่สามารถนอนราบได้ ขาบวม ท้องบวม และน้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจต้องใช้การรักษาที่สูงขึ้นกว่าการรักษาด้วยยา ได้แก่ การรักษาด้วยการฝังเครื่องประสานการทำงานของหัวใจ (Cardiac implantable electronic devices) หรือ การผ่าตัดใส่ เครื่องพยุงหัวใจ (mechanical circulatory support) หรือ การปลูกถ่ายหัวใจ (heart transplant) เป็นต้น
  • ผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายหัวใจ เป็นการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวครบวงจรให้ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด) และประชาชน รวมถึง การจัดงานประชุมทางวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ เป็นประจำทุกปีในระดับชาติ และนานาชาติ (heart failure preceptorship program)
  • ผลิตงานวิจัย เกี่ยวกับ Heart failure และ Transplant Cardiology สำหรับสังคมไทยและระดับนานาชาติ

บุคลากร

แพทย์เฉพาะทางอนุสาขา heart failure and transplant cardiology 4 ท่าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด 1 ท่าน พยาบาล 5 ท่าน เภสัชกร 5 ท่าน นักกำหนดอาหาร (dietician) 2 ท่าน นักวิทยาศาสตร์ 1 ท่าน ผู้ช่วยพยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่พยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 ท่าน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ท่าน และหน่วยงานภายนอกคลินิกฯ ซึ่งประสานงาน ปรึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ นักกายภาพ (Cardiac rehabilitation) in collaboration ศัลยศาสตร์ หัวใจและทรวงอก และอนุสาอื่นๆ ของอายุรศาสตร์หัวใจ รวมถึงแผนกอื่น ๆ

การเข้ารับบริการของผู้ป่วย

รับการปรึกษาและ ส่งต่อจากแพทย์ (อายุรแพทย์หัวใจ และหรือ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก) ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และ นอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกต่อหนึ่ง ไม่รับผู้ป่วย walk in หรือ self – referralวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น. ณ อาคาร ภปร. ชั้น 14

เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 5371

7. ฝ่ายศัลยศาสตร์ทรวงอก

เจตจำนง

ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ผลิตงานวิจัยและมีการให้บริการทางวิชาการที่มีคุณค่า ชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงระดับชาติ และเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ

ภาระหน้าที่

มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการแก่สังคม เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและประโยชน์สูงสุดต่อวงการสาธารณสุขของประเทศและสังคมโดยรวม 

การให้บริการของฝ่าย
  • ธุรการ อาคาร สก. ชั้น 4
    • ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 
  • คลินิกผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 7
    • ให้บริการในจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 
เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 4944

1. สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

ตึกวชิราวุธ ชั้น 2

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

2. ห้องตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology) 

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

3. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology) 

– ธุรการ อาคาร สก. ชั้น 6

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

– คลินิกผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร. ชั้น 11

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.

 

– หอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยโรคหัวใจกึ่งวิกฤต อาคาร สก. ชั้น 6

ให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.

 

4. คลินิกสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology) 

– คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker Clinic) อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 12

ให้บริการในทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00 – 16.00 น. (ยกเว้นวันพฤหัสดี สัปดาห์ที่ 5 ของเดือน)

 

– คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia Clinic) อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 12

ให้บริการในทุกวันอังคาร เวลา 13.00 – 16.00 น.

 

– คลินิก Syncope อาคาร ภปร. ชั้น 14

ให้บริการในทุกวันศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น.

 

– คลินิกทำหัตถการสรีระไฟฟ้าหัวใจ (ผู้ใหญ่) อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

ให้บริการในทุกวันจันทร์-ศุกร์  เวลา 08.00 – 16.00 น. (ในเวลาราชการ)

ให้บริการในวันเสาร์-อาทิตย์  เวลา 08.00 – 16.00 น. (นอกเวลาราชการ)

 

– ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

5. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)

– อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

6. คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว และอายุรศาสตร์การปลูกถ่าย (Heart Failure and Transplant Cardiology)

– อาคาร ภปร. ชั้น 14

ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

7. ฝ่ายศัลยศาสตร์ทรวงอก

– ธุรการ  อาคาร สก. ชั้น 4

ให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

– คลินิกผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 7

ให้บริการในจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์โรคหัวใจ

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

1. สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ   ตึกวชิราวุธ ชั้น 2

– หัวหน้างานบริหารงานทั่วไป  02 256 4000 ต่อ 3760

– งานธุรการ                               02 256 4000 ต่อ 3318, 3752

– งานการเงินและบัญชี             02 256 4000 ต่อ 3750

– งานพัสดุ                                 02 256 4000 ต่อ 3751, 3753, 5338

 

2. ห้องตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology) 

– เบอร์ภายใน                            02 256 4000 ต่อ 80423-4 ,80430

 

3. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology) 

– เบอร์ภายใน                            02 256 4000 ต่อ 4966

 

4. คลินิกสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology) 

– ID line: 0653047189, 061-2921160

 

5. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Catheterization Laboratory)

– ทำนัด                                   02 256 4000 ต่อ 80411

– เบอร์ภายใน                         02 256 4000  ต่อ 80405-9

 

6. คลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว และอายุรศาสตร์ การปลูกถ่ายหัวใจ (Heart Failure and Transplant Cardiology)

– เบอร์ติดต่อ                          02 256 4000  ต่อ 5371

 

7. ฝ่ายศัลยศาสตร์ทรวงอก

– ธุรการ                                   02 256 4000  ต่อ 4944

บทความที่เกี่ยวข้อง

อบรมเพื่อสู่เครื่อข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 12

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต เพื่อสู่เครื่อข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 12

กิจกรรม “โครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต”

จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการบำบัดทดแทนไตในภาวะวิกฤต เพื่อสู่เครือข่าย Critical Care Nephrology ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤษภาคม 2566

นักศึกษาจากประเทศญี่ปุ่นเยี่ยมชมศึกษาดูงาน

อาจารย์และนักศึกษาจาก International University of Health and Welfare and Fukuoka International Health and Welfare ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 53 คน เข้าศึกษาดูงานที่ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชบำบัดวิกฤติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์