โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก

Excellence Center for Burns

ดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บ จากแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวกขั้นรุนแรง ด้วยมาตรฐานสากล

หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burn Unit) ถูกจัดตั้งขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นแห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2515 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์จารุ สุขบท ร่วมกับอดีตหัวหน้าพยาบาลคุณบุญชอบ บำเพ็ญนรกิจ โดยตั้งอยู่ทิศใต้ของอาคารมงกุฎ – เพชรรัตน์ ชั้น 3 เมื่อเริ่มเปิดให้บริการรับผู้ป่วยได้ จำนวน 8 เตียง (ผู้ใหญ่ 6 เตียง, เด็ก 2 เตียง (ขลิบ 1 เตียง) มีแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง เป็นผู้ดูแลรักษาพยาบาล โดยใช้แนวทางการรักษาแบบบูรณาการ มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยในสมัยนั้น 

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 มีการปรับปรุงอาคารมงกุฎ – เพชรรัตน์ ชั้น 3 หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ย้ายไปให้บริการที่อาคารวชิรญาณ – สามัคคีพยาบาล ชั้น 4 โดยรับผู้ป่วยได้เพียง 4 เตียง ในปี พ.ศ. 2535 เกิดอุบัติหมู่ รถบรรทุกแก๊สพลิกคว่ำบนถนนเพชรบุรีตัดใหม่กลางดึก ผู้คนได้รับบาดเจ็บจากบาดแผลไฟไหม้และแรงระเบิดเป็นจำนวนมาก หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงของประเทศในครั้งนั้น 

ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2536 หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ย้ายกลับอาคารมงกุฎ – เพชรรัตน์ ชั้น 3 และในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2538 หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ย้ายเข้าอาคารจุฬาภรณ์ ชั้น 3 โดยให้บริการรับผู้ป่วยได้ จำนวน 6 เตียง (ผู้ใหญ่ 5 เตียง, เด็ก 1 เตียง) ในวันขึ้นปีใหม่ ปี พ.ศ. 2551 – 2552  ได้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ สถานบริการ Zantika pub มีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้และควันไฟเป็นจำนวนมาก เป็นอีกครั้งที่หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีบทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ 

ในปี พ.ศ. 2554 หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นอกจากบทบาทในการดูแลผู้ป่วยไฟไหม้-น้ำร้อนลวกแล้ว หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังเป็นที่ฝึกอบรมศัลยแพทย์-ตกแต่งให้จบไปเป็นศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญการรักษาผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย
ตลอด 40 ปีมานี้ มากกว่า 100 คน ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญของการดูแลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกทั่วทั้งประเทศไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2561 หน่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ย้ายขึ้นสู่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 24 (โซน C) และเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยเป็น 12 เตียง    

ผลงานที่ภาคภูมิใจของศูนย์

  1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ร่วมมือกับหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างและสมาคมแผลไหม้และสมานแผลแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ (Cadaveric Workshop) เรื่องการดูแลบาดแผลในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา

  2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ร่วมมือกับหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้างและโรงพยาบาลชลบุรี พัฒนา Mobile Application สำหรับประเมินขนาดของบาดแผลไฟไหม้ในผู้ป่วยเด็ก (PED 3D Burn) เป็นครั้งแรกในโลก และจะเริ่มทดลองใช้ในปี พ.ศ. 2563

เจตจำนง

เป็นผู้นำในการรักษาและฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากไฟไหม้-น้ำร้อนลวก ระดับประเทศและภูมิภาค

ภาระหน้าที่

  1. พัฒนาวิทยาการในการรักษาบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ไปสู่ความเป็นเลิศทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
  2. พัฒนาเทคโนโลยี วิศวกรรมชีวภาพ (tissue engineering) ให้สามารถนำมาใช้ได้จริงในทางคลินิกและอาจสามารถพัฒนาให้นำไปสู่การดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้จริง
  3. สนันสนุนการพัฒนา Skin Bank ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ในการนำมาใช้ทางคลินิก เพื่อเป็นต้นแบบในการนำไปสู่เป็น Skin Bank ระดับชาติ

การให้บริการของศูนย์

บริการรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากแผลไฟไหม้-น้ำร้อนลวกขั้นรุนแรง ด้วยมาตรฐานสากล ปลอดเชื้อ และป้องกันการติดเชื้อในการรักษา มีการใช้ธนาคารผิวหนัง และผิวหนังเทียม รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยให้หายเร็วขึ้น โดยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญแบบสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย สาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง วิสัญญี หอผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด สังคมสงเคราะห์และโภชนาการ

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ และวันพุธ เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ อาคาร ภปร ชั้น 6

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ไฟไหม้ – น้ำร้อนลวก
อาคารอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 24 โซน C

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4120

บทความที่เกี่ยวข้อง

ASIA PACIFIC RESUSCITATION

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดการประชุมวิชาการด้านเวชบำบัดวิกฤตประจำปี ครั้งที่ 4 “ASIA PACIFIC RESUSCITATION NURSES CONFERENCE”

ผู้บริหารกรมอนามัย และคณะเจ้าหน้าที่กรมอนามัย เข้าศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์

ผู้บริหารกรมอนามัย และคณะเจ้าหน้าที่กรมอนามัย เข้าศึกษาดูงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านการเดินและการเคลื่อนไหว ศูนย์นิทราเวช ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้สูงอายุ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านสเต็มเซลล์และเซลล์บำบัด

“รู้เท่าทัน ห่างไกลมะเร็งตับและท่อน้ำดี”

ศูนย์ความเป็นเลิศทางทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดกิจกรรมเสวนา "รู้เท่าทัน ห่างไกลมะเร็งตับและท่อน้ำดี"

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์