ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เดิมศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนี้ เริ่มต้นจากการเป็น “โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยดำเนินการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคลมชักตามมาตรฐานสากล และวิจัยการใช้ยากันชักชนิดใหม่ ๆ รวมทั้งพัฒนาการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด ศูนย์โรคลมชักแห่งนี้เป็นศูนย์แรกที่ริเริ่มการผ่าตัดโรคลมชักในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน
เจตจำนง
- เป็นศูนย์ที่ให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคลมชักที่มีความซับซ้อน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
- สามารถเป็นศูนย์กลางของระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้ โดยใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
- เป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางด้านโรคลมชักและการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
ภาระหน้าที่
- จัดตั้งศูนย์การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองแบบละเอียด [High-density Electroencephalography (EEG)] และการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองเชิงปริมาณ (Quantitative EEG)
2. พัฒนาการตรวจวินิจฉัยด้วย Stereoelectroencephalography (SEEG)
3. พัฒนาการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัยด้วย structural และ functional imaging (PET/SPECT/fMRI) โดยใช้ software ที่ทันสมัย และพัฒนาการวางซ้อนภาพ (overlay) ที่ได้จากวิธีการตรวจต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
4. จัดตั้งระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลได้ โดยใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกล (Telemedicine)
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร ปัจจุบันมี รศ.ดร.นพ.ชูศักดิ์ ลิโมทัย ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าศูนย์ฯ และมีบุคลากรอื่น ๆ ดังนี้
- แพทย์ประสาทวิทยาด้านโรคลมชักในผู้ใหญ่
- แพทย์กุมารประสาทวิทยาด้านโรคลมชัก
- ศัลยแพทย์ระบบประสาทด้านโรคลมชัก
- แพทย์รังสีวินิจฉัย
- แพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์
- จิตแพทย์
- พยาบาลประสานงานและพยาบาลวิจัย
- นักวิทยาศาสตร์การแพทย์
- นักประสาทจิตวิทยา
- นักสังคมสงเคราะห์
- เจ้าหน้าที่เทคนิคคลื่นไฟฟ้าสมอง
- เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
- เจ้าหน้าที่โสต
- เจ้าหน้าที่มูลนิธิ
- เจ้าหน้าที่ธุรการ
รศ.ดร.นพ.ชูศักดิ์ ลิโมทัย
หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร
การให้บริการของศูนย์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคลมชักครบวงจร แบ่งออกเป็น 2 แผนก ได้แก่
1. แผนกผู้ป่วยนอก (Outpatient care)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography unit)
- Routine EEG
- 256-channel high-resolution EEG
- ตรวจจิตประสาทวิเคราะห์ (Neuropsychological test)
- คลินิกโรคลมชัก (Epilepsy Clinic) สำหรับผู้ป่วยเก่า
- คลินิกผู้ป่วยรายใหม่ (New case clinic)
- คลินิกเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทเวกัส (Vagus nerve stimulation clinic)
2. แผนกผู้ป่วยใน (Inpatient care) ประกอบด้วย
- 24-hour Video-EEG monitoring (VEM) สำหรับประเมินหาจุดกำเนิดชักเพื่อการผ่าตัดในผู้ป่วยที่อาการชักดื้อต่อยากันชัก
- Continuous EEG monitoring สำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤติ