โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายธนาคารเลือด

Department of Transfusion Medicine

ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ทันเวลา และพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

ฝ่ายธนาคารเลือดเป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยแรกเริ่มเรียกว่า ห้องเลือด ตั้งอยู่ที่อาคารสุภาสจันทรโบ๊ส แผนกสูติกรรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาผู้บริจาคโลหิต ตรวจหาหมู่โลหิต และเตรียมโลหิตและส่วนประกอบโลหิตให้แก่ผู้ป่วย ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ห้องเลือดได้รับการตั้งให้เป็นหมวดให้เลือดและย้ายมาที่อาคารนภาพรประภา 

ปี พ.ศ. 2510 ได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่อาคารสุภาสจันทรโบ๊ส แผนกสูติกรรม 

ปี พ.ศ. 2513 ได้ย้ายมาปฏิบัติงานที่อาคารระเบียบคุณะเกษม 

ปี พ.ศ. 2523 หมวดให้เลือดได้ถูกเลื่อนเป็นแผนกธนาคารเลือด 

ปี พ.ศ. 2539 – 2540 แผนกธนาคารเลือดได้ถูกเลื่อนให้เป็นฝ่ายธนาคารเลือด 

ปี พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ชั้น 3 โซน B ของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์  

ปัจจุบันฝ่ายธนาคารเลือดทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เกี่ยวกับงานธนาคารเลือดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภากาชาดไทย ซึ่งดำเนินการภายใต้กฎหมายไทย รับผิดชอบให้บริการเจาะโลหิตสำหรับการจัดเตรียมโลหิต และให้บริการจัดเตรียมโลหิตและตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เกี่ยวกับงานธนาคารเลือด นอกจากนั้นยังให้การรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องปั่นแยก เม็ดโลหิตอัตโนมัติ (Blood cell separator) โดยให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เปิดทำการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด เพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและอำนวยความสะดวกให้แก่แพทย์ผู้รักษา รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทางห้องปฏิบัติการที่ฝ่ายฯ รับผิดชอบโดยตรงแก่แพทย์ ผู้ใช้บริการ และผู้สนใจทั่วไป

พันธกิจ

ฝ่ายธนาคารเลือดร่วมผลิตบัณฑิตแพทย์ แพทย์เฉพาะทางสาขาพยาธิวิทยาคลินิกและแพทย์สาขาเวชศาสตร์บริการโลหิตซึ่งมีคุณภาพและศักยภาพสูง ทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาแนวหน้าทั้งในและต่างประเทศ มีงานวิจัยที่ส่งเสริมการเรียนการสอน และงานบริการของฝ่ายฯ รวมทั้งกำกับดูแลการให้บริการทางห้องปฏิบัติการของฝ่ายฯ ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการในระดับชาติและนานาชาติ

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

การให้บริการของฝ่ายธนาคารเลือด แบ่งเป็น 5 หน่วย ดังนี้

  1. หน่วยปฏิบัติการเตรียมโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต (Routine Lab)
  2. หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (Special Lab)
  3. หน่วยเจาะโลหิตเพื่อการรักษา (Blood Letting Therapeutic), Apheresis และเก็บ Peripheral blood stem cell
  4. หน่วยปฏิบัติการอณูชีววิทยาและการตรวจขั้นสูง (Advanced Diagnostic Lab)
  5. หน่วยรับสิ่งส่งตรวจ/เตรียมและจ่ายส่วนประกอบโลหิต (Blood Service Lab)

ทั้งนี้ฝ่ายธนาคารเลือดได้ยึดถือคุณภาพเป็นหัวใจหลักในการให้บริการ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐาน ISO 15189, ISO 15190 จากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ.2553 จนถึงปัจจุบัน, ได้รับการรับรองมาตรฐานทางวิชาการของห้องปฏิบัติการจากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย และพัฒนาระบบภาชนะขนส่งอัจฉริยะเพื่อเพิ่มความสามารถในการตรวจจับอุณหภูมิการขนส่งตามเวลาจริงแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบันและได้รับรางวัล bronze award “Alert Telecar” ของโครงการ Lean in Healthcareภายใต้โครงการของฝ่ายธนาคารเลือดชื่อ ลดระยะเวลาการจัดเตรียมส่วนประกอบของโลหิตเพื่อผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตออกมาก (Massive blood loss) ถึงห้องฉุกเฉิน

รวมทั้งยังได้นำระบบ Electronic Crossmatch เข้ามาใช้ในการเตรียมโลหิตเป็นแห่งแรกในประเทศ ทำให้ลดระยะเวลาการเตรียมโลหิต ลดต้นทุน สามารถให้บริการได้รวดเร็วขึ้น โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐาน

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์  ชั้น 3 โซน B

การสั่งเตรียมโลหิต / รับโลหิต และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 

ให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตลอด 24 ชั่วโมง

 

การเจาะโลหิตเพื่อการรักษา 

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 15.00 น.

 

งาน Apheresis

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

 

ขั้นตอนการส่งตรวจสำหรับผู้รับบริการภายนอก

  1. การเจาะเก็บตัวอย่างส่งตรวจ
    สิ่งส่งตรวจมีปริมาณตามเกณฑ์กำหนด (ตาราง) และมีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับจากวันเจาะเก็บอุณหภูมิสิ่งส่งตรวจอยู่ในเกณฑ์ 2-8 องศาเซลเซียส
  2. ขั้นตอนการส่งตรวจ
    2.1 ผู้รับบริการระบุรายการส่งตรวจลงในแบบฟอร์มสั่งตรวจทางธนาคารเลือด ตามตัวอย่าง “Form Lab” โดยสามารถรับได้ที่ฝ่ายธนาคารเลือด โปรดระบุชื่อโรงพยาบาล และ E-mail ที่ให้รายผลกลับ
    * หากเป็นการขอรับบริการครั้งแรก ผู้รับบริการติดต่อขอรับเอกสาร เรื่อง ขอให้ส่งหนังสือแจ้ง E-mail address สำหรับการรายงานผลกลับ ที่ธุรการธนาคารเลือด และดำเนินการส่งเอกสารดังกล่าวกลับทางไปรษณีย์/Email address;  Bloodbank.chula@chulahospital.org ฝ่ายธนาคารเลือดจะไม่รายงานผลกลับ หากไม่ได้รับหนังสือตอบกลับ และหากมีการเปลี่ยนแปลง E-mail address สำหรับการรายงานผล ต้องดำเนินการดังกล่าวใหม่
    2.2 ติดต่อชำระค่าใช้จ่ายที่การเงิน อาคารภูมิสิริฯ ชั้น M
    2.3 ส่งตัวอย่างพร้อมใบสั่งตรวจที่ฝ่ายธนาคารเลือด
  3. การรายงานผล
    นักเทคนิคการแพทย์/เจ้าหน้าที่ ผู้มีสิทธิ์รายงานผล ดำเนินการส่งผลการทดสอบกลับทาง E-mail address ที่ได้รับเอกสารแจ้งจากหน่วยงานเท่านั้นThis image has an empty alt attribute; its file name is Screenshot-2024-11-13-160858.png

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายธนาคารเลือด

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

งานธุรการ

02 256 4000 ต่อ 80312

 

งานเตรียมโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต

02 256 4000 ต่อ 80313, 5

 

งานปฏิบัติการพิเศษ

02 256 4000 ต่อ 80314

 

งานเจาะโลหิตเพื่อการรักษา, Apheresis

02 256 4000 ต่อ 80316

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

Facebook : https://www.facebook.com/BiochemMedChula/

Website : http://biochem.md.chula.ac.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณซาเฮอร์ เอเลียส มานัก ซิงค์ จาวลา มอบเงินบริจาค

คุณซาเฮอร์ เอเลียส มานัก ซิงค์ จาวลา มอบเงินบริจาค เพื่อจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต

ประชุมวิชาการ “วิชาชีพพยาบาลท่ามกลางกระแสความพลิกผันของระบบสุขภาพ”

วันที่ 20 - 21 มิถุนายน 2562 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดการประชุมวิชาการ ประจำปี 2562 ในหัวข้อ " วิชาชีพพยาบาลท่ามกลางกระแสความพลิกผันของระบบสุขภาพ" (Nursing Profession & The Coming Wave of Healthcare Disruption)

คุณไชรัตน์ ณ บางช้าง มอบเครื่องให้ออกซิเจน

คุณไชรัตน์ ณ บางช้าง มอบเครื่องให้ออกซิเจน ให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์