โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

กลุ่มงานเภสัชกรรม

Pharmacy Section

ให้การดูแลเรื่องการใช้ยาต่าง ๆ ด้วยมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม

“พแนกคลังยา” ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ครั้งนั้นห้องยาตั้งอยู่ที่อาคารอำนวยการ และคลังยาอยู่ที่ห้องใต้ดิน หัวหน้าแผนกคนแรก คือ นายร้อยเอกหลวงเภสัชรักษา (ปอย รักษาสุข) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แผนกคลังยา” และในปี พ.ศ. 2475 เปลี่ยนเป็น “แผนกคลังเวชภัณฑ์” จนเมื่อคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 จึงได้จัดตั้ง “ห้องยาทุนหมุนเวียน” ขึ้นเป็นหน่วยหนึ่งในแผนกคลังเวชภัณฑ์ ให้ดำเนินการจัดซื้อยาเพื่อจำหน่ายให้ผู้ป่วย ด้วยเงินทุนหมุนเวียน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาได้มากขึ้น การจัดซื้อยานี้อยู่ในความควบคุมโดย “กรรมการเงินทุนหมุนเวียน”

ต่อมาเมื่อกิจการของห้องยาทุนหมุนเวียนดำเนินไปด้วยดี จึงได้แยกห้องยาทุนหมุนเวียนออกจากแผนกเวชภัณฑ์ ตามประกาศของสภากาชาดไทยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2510 โดยใช้ชื่อ “แผนกยา”

พ.ศ. 2515 เมื่อมีการโอนย้ายแผนกยาและหน่วยงานต่างๆที่เป็นกิจการของโรงพยาบาลจากกองบรรเทาทุกข์และอนามัย เข้าเป็นงานของ “กองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” จึงได้เปลี่ยนชื่อแผนกเป็น “แผนกยาทุนหมุนเวียน”และในปี พ.ศ. 2532 ได้มีการจัดแบ่งงานใหม่โดยแผนกเวชภัณฑ์รับผิดชอบงานเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ สำหรับแผนกยาทุนหมุนเวียนรับผิดชอบงานด้านยา ทั้งการจัดหาและการผลิตยา และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “แผนกเภสัชกรรม”

เมื่อกิจการของแผนกเภสัชกรรมมีมากขึ้นจึงได้มีการปรับโครงสร้างในปี พ.ศ. 2540 ขึ้นเป็น “ฝ่ายเภสัชกรรม”และเมื่อ พ.ศ. 2555 ได้เปลี่ยนมาเป็น “กลุ่มงานเภสัชกรรม”ในปัจจุบัน

กว่าร้อยปีที่ผ่านมา กลุ่มงานเภสัชกรรมได้ผ่านการเปลี่ยนแปลง การพัฒนางานบริการและวิชาชีพเภสัชกรรมมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับพันธกิจ วิสัยทัศน์ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ยาของผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้องและเหมาะสม

พันธกิจ

ให้บริการทางเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นที่พีงพอใจของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับยาที่มีคุณภาพสูง พร้อมใช้ และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม ภายใต้เจตจำนง

“บริบาลด้วยมาตรฐาน บริการด้วยหัวใจ ยึดมั่นความปลอดภัย ห่วงใยการใช้ยา”

ภาระหน้าที่

ให้บริการทางเภสัชกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ได้มาตรฐาน ปลอดภัย ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นที่พีงพอใจของผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับยาที่มีคุณภาพสูง พร้อมใช้ และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม

กลุ่มงานเภสัชกรรม ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ดังนี้

1. งานบริการเภสัชภัณฑ์

  • หน่วยคลังยา
  • หน่วยจัดซื้อ

2. งานเภสัชกรรมการผลิต

  • หน่วยผลิตยาทั่วไป
  • หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN
  • หน่วยผสมยาเคมีบำบัด 
  • หน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเฉพาะราย (IV admixture)

3. งานบริการเภสัชกรรมคลินิก

  • หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
  • หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
  • ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

4. งานเภสัชสนเทศและพัฒนาคุณภาพ

  • หน่วยเภสัชสนเทศ (Drug Information Service : DIS)
  • หน่วยพัฒนาคุณภาพ (Quality Development Unit : QDU) 

5. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก

  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 4 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 5 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 9 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 11
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 13
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 15
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 2 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก (Hemato) อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โซน C 
  • หน่วยจ่ายยาฉุกเฉิน อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M โซน A 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ส.ธ. ชั้น 3 
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร จงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 3 
  • ศูนย์คัดกรองคำสั่งยา อาคาร ภปร ชั้น 20 

6. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยใน

  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น B1
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคาร สก. ชั้น 13
  • หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคาร นวัตบริบาล ชั้น 1

7. งานธุรการและบัญชี

  • งานธุรการและบัญชี อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน B

การให้บริการ

กลุ่มงานเภสัชกรรม ได้เปิดให้บริการทางเภสัชกรรมด้านต่าง ๆ โดยแบ่งงานบริการออกตามหน่วยงานย่อยภายในกลุ่มงานทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่

1. งานบริการเภสัชภัณฑ์ 

งานบริการเภสัชภัณฑ์ มีบทบาทหน้าที่ในการจัดซื้อยา เก็บสำรองยา และจ่ายยาให้หน่วยจ่ายยา ภายใต้แนวคิดการบริหารงานที่เน้นความปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเพียงพอสำหรับความต้องการ

1.1 งานจัดซื้อ
หน่วยจัดซื้อ มีการจัดซื้อยาตามรายการเภสัชตำรับของโรงพยาบาลจำนวน 2,200 รายการ โดยดำเนินการภายใต้ระเบียบพัสดุฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีระบบส่งคำสั่งซื้อและติดตามรายการยาค้างส่งจากบริษัทผู้จำหน่ายที่รวดเร็ว ทันเวลา เพื่อให้มียาสำรองเพียงพอใน
โรงพยาบาล มีระบบควบคุมคุณภาพบริษัทผู้จัดส่งยาให้มีการจัดส่งยาที่ได้มาตรฐานการขนส่งที่ดี

1.2 งานคลังยา
หน่วยคลังยา มีการเก็บรักษายาในคลังยาที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย มีระบบการควบคุมอุณหภูมิยาในระหว่างการขนส่งโดยเฉพาะกลุ่มยาแช่เย็น เพื่อรักษาคุณภาพของยาตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาและขนส่งก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย มีระบบรับแจ้งปัญหาคุณภาพยาจากหน่วยจ่ายยาและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อควบคุมให้มีการจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วย

2. งานเภสัชกรรมการผลิต 

งานเภสัชกรรมการผลิตมีหน้าที่หลักในการผลิตยาเพื่อสนับสนุนการบริการผู้ป่วยและการวิจัยของโรงพยาบาล โดยแบ่งเป็น 4 หน่วย ได้แก่

2.1 หน่วยผลิตยาทั่วไป

ผลิตยาสำหรับรับประทานหรือใช้ภายนอก ที่ไม่ใช่ยาปราศจากเชื้อ เพื่อสนับสนุนการให้บริการรักษาผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่ไม่มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด หรือเป็นยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก และให้บริการเตรียมยาเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีการผลิตยาสามัญประจำบ้านและเวชสำอาง เช่น พิมเสนน้ำจุฬา ยาดมจุฬา ยาหม่องจุฬา สบู่เหลวไร้ด่าง (Chula soap) ครีมยูเรีย (ทาบรรเทาอาการส้นเท้าและผิวแห้งแตก) กระเป๋ายาสามัญประจำบ้าน เป็นต้น สำหรับจำหน่ายในร้านยาของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และออกร้านจำหน่ายในโอกาสพิเศษต่าง ๆ ทุกปีอีกด้วย 

2.2 หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN

ให้บริการผลิตสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ และยาปราศจากเชื้อประเภท ยาฉีด ยาหยอดตา ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดสำหรับการรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาล ซึ่งมีกระบวนการผลิตภายใต้สภาวะสะอาด มีการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพตามแนวทางการผลิตยาปราศจากเชื้อที่ดี 

2.3 หน่วยผสมยาเคมีบำบัด

ให้บริการเตรียมยาเคมีบำบัด ยาอันตราย สำหรับการรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยาเคมีบำบัด ภายใต้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ปลอดภัยต่อผู้เตรียมยาและสิ่งแวดล้อม  

2.4 หน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเฉพาะราย

ให้บริการเตรียมยาปราศจากเชื้อในรูปแบบพร้อมใช้ ยาปราศจากเชื้อตำรับที่ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด ภายใต้สภาวะสะอาดที่มีการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพตามแนวทางการผลิตยาปราศจากเชื้อที่ดี เพื่อให้มีการบริหารยาได้อย่างสะดวก ลดการเตรียมยาที่หอผู้ป่วยซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านยาของโรงพยาบาล

3. งานเภสัชกรรมคลินิก 

ให้บริการดูแลการใช้ยาและติดตามผลจากการใช้ยาแก่ผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง สะดวก ปลอดภัย ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษาและมีคุณภาพชีวิดที่ดีขึ้น โดยมีหน้าที่ในการค้นหา เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา (Drug Related Problems) ที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งให้คำปรึกษา จัดเตรียม และส่งต่อข้อมูลด้านยาที่จำเป็นแก่ทีมสหสาขาสำหรับช่วยทีมในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและให้การรักษาผู้ป่วย ปัจจุบันปฏิบัติงานให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการรักษาด้านยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ป่วยใน 7 กิจกรรม ได้แก่

  1. งานบริบาลเภสัชกรรมในหอผู้ป่วย (Acute Care) 
  2. งานบริบาลเภสัชกรรมคลินิกเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care)
  3. งานประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction Monitoring) 
  4. งานสอนและให้คำแนะนำการใช้ยาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงขณะนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (In-patient Education)
  5. งานให้คำแนะนำการตรวจวัดและติดตามระดับยาแวนโคไมซินในเลือด (Therapeutic Drug (Vancomycin) Monitoring) 
  6. งานประสานและเปรียบเทียบรายการยาของผู้ป่วย (Medication Reconciliation)
  7. งานส่งเสริมควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาจุลชีพอย่างเหมาะสม (Antimicrobial Stewardship)           

4. งานเภสัชสนเทศและพัฒนาคุณภาพ 

4.1 หน่วยเภสัชสนเทศ (Drug Information Service: DIS)
เภสัชกรในหน่วยงานมีหน้าที่ให้บริการตอบคำถามและให้คำปรึกษา แนะนำเรื่องการใช้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาล เป็นต้น อีกทั้งยังบริหารจัดการบัญชียาของโรงพยาบาล (Hospital Formulary) โดยทางคณะกรรมการเวชกรรม เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกยาที่มีประสิทธิภาพ  และเหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ความรู้ด้านยาที่ถูกต้อง การแนะนำยาใหม่ รวมถึงรวบรวมปัญหาที่พบบ่อยในการใช้ยา ผ่านทางวารสาร “บอกกล่าวเล่าเรื่องยา” ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลผ่านทางอีเมล เพื่อส่งเสริมการใช้ยาที่ถูกต้อง

4.2 หน่วยพัฒนาคุณภาพ (Quality Development Unit: QDU)
มีหน้าที่ผลักดันกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานเภสัชกรรม และระบบจัดการด้านยา ร่วมกับการกำกับติดตามการพัฒนางานโดยนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสพัฒนาและวางแผนพัฒนางาน สนับสนุนส่งเสริมให้มีบรรยากาศการพัฒนาคุณภาพในองค์กร การทำงานเป็นทีม มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ ส่งเสริมการสื่อสาร ประสานข้อมูลระหว่างงานหรือกิจกรรมภายในกลุ่มงานเภสัชกรรม รวมไปถึงหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐาน มีประสิทธิภาพสูง ให้สอดคล้องกับภาระหน้าที่ของกลุ่มงานเภสัชกรรม และเป้าหมายหรือจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล

5. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก 

งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เป็นงานหนึ่งในกลุ่มงานเภสัชกรรม ประกอบด้วยหน่วยจ่ายยา 12 หน่วย ให้บริการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยที่มารับการตรวจแบบผู้ป่วยนอกจากคลินิกต่าง ๆ ณ อาคาร ภปร รวมถึงผู้ป่วยนอกที่ได้รับการตรวจจากศูนย์ความเป็นเลิศต่าง ๆ ณ อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ อาคาร ส.ธ. และ อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ เฉลี่ยวันละประมาณ 4,200 – 4,500 คน เปิดให้บริการจ่ายยาทั้งในและนอกเวลาราชการ

ผู้ป่วยจะได้รับการสั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า Computerized Physician Order Entry (CPOE) คำสั่งใช้ยาทุกรายการจะได้รับการทบทวนจากเภสัชกร โดยมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ ประวัติการใช้ยา โรคหรืออาการที่มาพบแพทย์ ประวัติการแพ้ยา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นต่อการใช้ยา เอื้อต่อการประเมินการสั่งยาเพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย

ก่อนที่เภสัชกรจะส่งมอบยานั้นแก่ผู้ป่วย โดยมีการให้คำแนะนำ ข้อควรระวัง รวมถึงข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาเพื่อให้ผู้ป่วย มีความเข้าใจในการบริหารยาอย่างถูกต้องและให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง

6. งานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยใน 

ให้บริการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยในตามหอผู้ป่วยต่าง ๆ ได้แก่ หอผู้ป่วยอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ หอผู้ป่วยอาคาร สก. และหอผู้ป่วยอาคารนวัตบริบาล โดยจะมีระบบการกระจายยาไปยังหอผู้ป่วยวิกฤตทุกวัน และสำหรับหอผู้ป่วยทั่วไปทุก ๆ 3 วัน  

7. งานธุรการและบัญชี         

ดูแลด้านงานเอกสาร งานพัสดุ งานบุคคล งานกิจกรรมของกลุ่มงาน และ ประสานงานระหว่างหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม หัวหน้างานต่างๆ หัวหน้าห้องจ่ายยา รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกลุ่มงานเภสัชกรรม

หน่วยงาน สถานที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ เวลาทำการ
– หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม
– หัวหน้างานธุรการและบัญชี
– งานธุรการและบัญชี
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ชั้น 5 โซน B 02 256 4000 ต่อ 60527
02 256 4000 ต่อ 60515
02 256 4000 ต่อ 60515
02 256 4000 ต่อ 60517 , 60519 , 60521–2
08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานบริการเภสัชกรรมคลินิก
– หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care)
– หน่วยบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน (Acute Care)
– ศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 11 02 256 4000 ต่อ 81131
02 256 4000 ต่อ 81129
02 256 4000 ต่อ 81130
02 256 4000 ต่อ 100, 81128
08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานเภสัชสนเทศและงานพัฒนาคุณภาพ
– หน่วยเภสัชสนเทศ (DIS)
– หน่วยพัฒนาคุณภาพ (QDU)
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ชั้น 5 โซน B 02 256 4000 ต่อ 60544
02 256 4000 ต่อ 60535 – 9, 60543
02 256 4000 ต่อ 60514, 60531-4
08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานเภสัชกรรมการผลิต อาคาร รัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน B 02 256 4000 ต่อ 60504 08.00 – 16.00 น.
– หน่วยผสมยาเคมีบำบัด
– หน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเฉพาะราย (IV admixture)
– หน่วยผลิตยาทั่วไป
– หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ TPN
อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น B1

อาคาร จอดรถ 3 ชั้น 8

02 256 4000 ต่อ 4538
02 256 4000 ต่อ 80190
02 256 4000 ต่อ 4528, 4205
02 256 4000 ต่อ 4529
08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานบริการเภสัชภัณฑ์
– หน่วยจัดซื้อ
– หน่วยคลังยา
– ห้องน้ำเกลือ
– ห้องตรวจรับ
อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น B1 02 256 4000 ต่อ 80191
02 256 4000 ต่อ 80175
02 256 4000 ต่อ 80177
02 256 4000 ต่อ 80178 – 9
02 256 4000 ต่อ 80180
08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานเภสัชกรรมบริการผู้ป่วยนอก อาคาร รัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน B 02 256 4000 ต่อ 60506 08.00 – 16.00 น.
– หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก อาคาร ภปร ชั้น 4
อาคาร ภปร ชั้น 5
อาคาร ภปร ชั้น 9
อาคาร ภปร ชั้น 11
อาคาร ภปร ชั้น 13
อาคาร ภปร ชั้น 15
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 2
อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น 1 โซน C
อาคาร ส.ธ. ชั้น 3
อาคารจงกลนีวัฒนวงศ์ ชั้น 3
02 256 4000 ต่อ 3319, 5107
02 256 4000 ต่อ 5410
02 256 4000 ต่อ 5308
02 256 4000 ต่อ 5258
02 256 4000 ต่อ 5206, 3626
02 256 4000 ต่อ 5122
02 256 4000 ต่อ 63214 – 5
02 256 4000 ต่อ 80172 – 3
02 256 4000 ต่อ 70303
02 256 4000 ต่อ 5137
08.00 – 16.00 น.
– หน่วยจ่ายยาฉุกเฉิน อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M โซน A 02 256 4000 ต่อ 83040 – 1 24 ชั่วโมง
– ศูนย์คัดกรองคำสั่งยา อาคาร ภปร. ชั้น 20 02 256 4000 ต่อ 5457 – 8 08.00 – 16.00 น.
– หัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยใน อาคาร รัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน B 02 256 4000 ต่อ 60507 08.00 – 16.00 น.
– หน่วยจ่ายยาผู้ป่วยใน อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ชั้น B1
อาคาร สก. ชั้น 13
อาคาร นวัตบริบาล ชั้น 1
02 256 4000 ต่อ 80185 – 7
02 256 4000 ต่อ 5353, 4953
02 256 4000 ต่อ 4700, 4781
24 ชั่วโมง

08.00 – 16.00 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์
กลุ่มงานเภสัชกรรม อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซนบี

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน
02 256 4000 ต่อเบอร์ภายในที่ท่านต้องการติดต่อ

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

Line Official Account : Pharmacy.kcmh

บทความที่เกี่ยวข้อง

มอบชุดป้องกันการติดเชื้อแบบ Cover all

นายยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) คณะคอมมานเดอร์ มอบชุดป้องกันการติดเชื้อแบบ Cover all เพื่อแพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ครอบครัวสูตรเชี่ยวชาญ มอบเงินบริจาค

ครอบครัวสูตรเชี่ยวชาญ มอบเงินบริจาค เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

มอบหน้ากาก face shield

คณะผู้แทนสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มอบหน้ากาก face shield ที่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออบโอโซนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์