นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ศูนย์ประกันสุขภาพ เริ่มให้บริการด้านสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพ โดยได้รับการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านการเงินการคลัง เพื่อให้องค์กรมีความคล่องตัว ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีประสิทธิภาพทางการเงิน โดยแรกเริ่มนั้นประกอบไปด้วย 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ งานบริหารงานประกันสุขภาพ งานทบทวนการใช้ทรัพยากร และงานข้อมูลและแผนงาน ซึ่งในเวลาต่อมางานข้อมูลและแผนงานได้พัฒนาแยกออกไปเป็นศูนย์ข้อมูลและต้นทุน แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้สิทธิประกันสุขภาพมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ตามการขยายงานด้านบริการของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำให้ศูนย์ประกันสุขภาพมีภารกิจเพิ่มตามในอีกหลายด้าน เพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวขึ้น
ศูนย์ประกันสุขภาพ มีหน้าที่ให้บริการตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มารับบริการ ประสานงานเชื่อมโยงการใช้สิทธิรักษาพยาบาลในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสิทธิประกันสังคม ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัด และงานทบทวนข้อมูลทางการใช้ทรัพยากรและสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ โดยยึดมั่นในหลักการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครอบคลุมกาย จิต สังคมและเศรษฐกิจ ให้ผู้ป่วยทุกคนได้เข้าถึงสิทธิประกันสุขภาพ ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดตามที่ผู้ป่วยอันพึงจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ยังมีรางวัลเกียรติยศจากหน่วยงานภายนอก เป็นสิ่งยืนยันถึงประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์ประกันสุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เป็นอย่างดี อาทิ
- รางวัล สปสช. สำหรับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการรับส่งต่อการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2548
- รางวัลสินไหมอัตโนมัติ e-claim award 2011 เพื่อการรักษาพยาบาลและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยจากรถอย่างมีประสิทธิภาพเป็นโรงพยาบาลที่มีการใช้ระบบสินไหมอัตโนมัติดีเด่นระดับภาคกลาง อันดับ 2
- รางวัลสถานพยาบาลในดวงใจประจำปี 2559 สถานพยาบาลที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคม รางวัลพิเศษ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตลอดระยะเวลากว่า 1 ทศวรรษ ที่ศูนย์ประกันสุขภาพ ได้ให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศูนย์ประกันสุขภาพยังมีความมุ่งมั่น ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานบริการอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเสริม เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และสะดวกสบายต่อผู้มารับบริการสูงสุด จนสามารถให้บริการผู้ป่วยในทุกสิทธิอย่างครบวงจร (one stop service)
ศูนย์ประกันสุขภาพ ได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ ตามมติอนุมัติปรับโครงสร้างหน่วยงาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ดังนี้
- งานลงทะเบียนสิทธิโรงพยาบาลต้นสังกัด รพ.จุฬาลงกรณ์
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บค่าบริการรักษาพยาบาลภาครัฐ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- โครงการตรวจสุขภาพประจำปี สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- โครงการให้บริการการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- โครงการให้บริการการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ค่านิยม / อุดมการณ์ร่วม / วัตถุประสงค์
- บริการดูแลประชาชนให้มีหลักประกันสุขภาพอย่างถูกต้องและเท่าเทียม
- พิทักษ์สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพที่ประชาชนไทยพึงได้รับ
- ให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งผู้รับและผู้ให้บริการ
ภารกิจหลักของหน่วยงาน
- ดำเนินการให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ ตามสิทธิที่พึงได้รับ ขึ้นทะเบียนออกบัตร ประสานงาน ส่งต่อให้ได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- พิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้มีหลักประกันสุขภาพ ให้ได้รับบริการตามสิทธิ ด้วยความถูกต้อง ประกอบไปด้วยสิทธิต่างๆดังต่อไปนี้
- สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
- สิทธิประกันสังคม
- ให้การบริการแก่ผู้มีหลักประกันสุขภาพ ให้เข้าถึงอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมทุกสิทธิ
- ดำเนินการตรวจสอบรับรองสิทธิ และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้มีหลักประกันสุขภาพและสิทธิประกันสังคม
- ลงทะเบียนย้ายสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(301)และย้ายสิทธิประกันสังคม ให้แก่เจ้าหน้าที่และครอบครัวเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- จัดเตรียมเอกสารประกอบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อระบบการเงิน บัญชีรับ-จ่ายของโรงพยาบาล ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- ทบทวน ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูล การใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ทั้งระบบ เพื่อปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านงานศูนย์ประกันสุขภาพ
- ให้ความรู้ ประกาศ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ งานหลักประกันสุขภาพ แก่บุคคลากรภายในและภายนอก
- ให้คำปรึกษา รับเรื่องราวร้องทุกข์ รวมทั้งแก้ไขปัญหาของผู้รับบริการ
การให้บริการของศูนย์ประกันสุขภาพ
- งานบริหารรายโรคเฉพาะและงานเรียกเก็บค่าชดเชยในระบบประกันสุขภาพ/ประกันสังคมและสิทธิการรักษาต่างๆ
- บริหารจัดการผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโครงการต่างๆดังนี้
- ผู้ป่วยโครงการปลูกถ่ายไต ตั้งแต่ก่อนปลูกถ่ายไต ระหว่างปลูกถ่าย และหลังปลูกถ่ายไต
- ผู้ป่วย HIV
- ผู้ป่วยโรคเลือด
- ผู้ป่วยวัณโรคคลินิกโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
- ผู้ป่วยโรคอื่นๆที่กำหนดเพิ่มขึ้นในอนาคต
- บริหารจัดการผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมในโครงการต่างๆดังนี้
- โครงการปลูกถ่ายไต
- จัดเตรียมเอกสารเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยประกันสังคมกรณีส่งต่อ ผู้ป่วยนอก/ ใน กรณี (High cost)จากโรงพยาบาลต้นสังกัด
- จัดเตรียมเอกสารเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตาม Protocol
- จัดเตรียมเอกสารเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกกรณีทุพพลภาพและกรณีฉุกเฉิน
- ลงทะเบียนรับยาFactorผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย
- โครงการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต(ไขกระดูก)
- โครงการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา สิทธิประกันสังคม
- โครงการปลูกถ่ายไต
- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บค่าบริการรักษาพยาบาลภาครัฐโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 11 โครงการ
- โครงการให้บริการการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สิทธิประกันสังคม
- โครงการตรวจสุขภาพประจำปี สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- บริหารจัดการผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโครงการต่างๆดังนี้
- งานลงทะเบียนดูแลสิทธิต้นสังกัด
- ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
- ให้บริการผู้มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย และครอบครัว
- นิสิตคณะแพทยศาสตร์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักศึกษาพยาบาลและ เจ้าหน้าที่บำนาญ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผ่านทางโทรศัพท์และผู้มาติดต่อด้วยตัวเอง
- ลงทะเบียนเปลี่ยนแปลงบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิประกันสังคมสำหรับเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยสังกัดกองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และครอบครัว ตามนโยบายผู้บริหารในวาระการบริหาร นั้นๆ
- ให้คำปรึกษาและอธิบายสิทธิประโยชน์อันพึงได้รับในการเลือกสถานพยาบาล รพ.จุฬาลงกรณ์เป็นสถานพยาบาลหลัก ตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมกำหนดไว้
- ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย
ผศ.นพ.ภาณุวัฒน์ ชุติวงศ์
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวหน้าศูนย์ประกันสุขภาพ