ฝ่ายปรสิตวิทยา เดิมเรียกว่า “ปาราสิตวิทยา” เป็นหน่วยหนึ่งของภาควิชาพยาธิวิทยา แต่เนื่องจากวิชาปรสิตวิทยา (Medical Parasitology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้เกิดโรคกับคน หรือเป็นตัวนำโรคมาสู่คน และศึกษาเรื่องราว ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์หลายชนิดด้วยกัน ปาราสิตวิทยาจึงถือได้ว่าเป็นวิชาที่สำคัญมากวิชาหนึ่งในการศึกษาแพทยศาสตร์ สภาการศึกษาแห่งชาติจึงมีมติให้แยกจากภาควิชาพยาธิวิทยา ออกมาเป็น ภาควิชาปาราสิตวิทยา เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2510 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์อานนท์ ประทัตสุนทรสาร เป็นหัวหน้าภาควิชาฯ เป็นท่านแรก หลังจากนั้นทบวงมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อจาก “ภาควิชาปาราสิตวิทยา” เป็น “ภาควิชาปรสิตวิทยา” เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 มาจนถึงปัจจุบัน
เจตจำนง
ห้องปฏิบัติการฝ่ายปรสิตวิทยามุ่งมั่นพัฒนาการบริการให้เป็นเลิศในระดับสากล ตรวจวินิจฉัยถูกต้อง ทันเวลา ผู้รับบริการมีความมั่นใจในคุณภาพ พึงพอใจในบริการ
ภาระหน้าที่
ปรสิตจุฬาฯ บริการด้วยใจ มั่นในมาตรฐาน งานมีคุณภาพ มุ่งพัฒนาสู่สากล
ฝ่ายปรสิตวิทยา แบ่งหน่วยงานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
- งานบริการผู้ป่วย
- งานบริการวิชาการ
- งานการเรียนการสอนและงานวิจัย
- งานธุรการ
การให้บริการของฝ่าย
ฝ่ายปรสิตวิทยาได้แบ่งการให้บริการการตรวจโรคออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ให้บริการตรวจโรคปรสิตโดยแพทย์ ที่อาคาร ภปร ชั้น 14
- ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา
โดยแบ่งห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา ดังนี้
- ห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา อาคาร ภปร ชั้น 4
ให้บริการผู้ป่วยนอก และผู้ตรวจสุขภาพไปต่างประเทศ - ห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 3
ให้บริการผู้ป่วยใน และโครงการตรวจสุขภาพ - ห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา อาคาร อปร ชั้น 18
ให้บริการตรวจด้วยเทคนิคพิเศษ ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเชื้อ การย้อมสีพิเศษ การตรวจทางอิมมูนวิทยาและการตรวจทาง อณูชีววิทยา
การให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการปรสิตวิทยา
มีรายการตรวจแบ่งออกเป็น 6 หมวดหมู่ รวมทั้งสิ้น 27 รายการ ดังนี้
1. การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีทางปรสิตวิทยา
- Stool examination and identification (simple smear and concentration)
- ตรวจหาพยาธิโรคเท้าช้างในเลือด โดย Giemsa stain และโดย DEC provocative test
- ตรวจหาเชื้อมาลาเรียในเลือด โดย Giemsa stain
- ตรวจหาพยาธิเข็มหมุดโดยวิธี Scotch tape
- จำแนกชนิดของปรสิต เช่น ตัวพยาธิ ตัวแมลง (Identification)
2. การตรวจวินิจฉัยทางอิมมูนวิทยา
2.1 ตรวจหา Antigen ได้แก่
- Filaria specific antigen
- E. histolytica antigen from pus or stool
- Giardia lamblia antigen
- ICT for malaria
2.2 ตรวจหา Antibody ได้แก่
- Toxoplasma IgG and IgM antibody
- Taenia solium IgG antibody
- IFA for Pneumocystis jirovecii
3. การตรวจหาโปรโตซัวด้วยการย้อมสีพิเศษ ได้แก่
- Stain for Pneumocystis jiroveci
- Stain for Microsporidium
- Stain for Cryptosporidium, Cyclospora, Cystoisospora
4. การเพาะเลี้ยงหาเชื้อพยาธิและโปรโตซัว ได้แก่
- Agar plate culture for Strongyloides & hookworm
- Culture for E. histolytica/E. dispar, T. vaginalis
- Culture for Trichomonas vaginalis
- Culture for free-living amoebae
5. การตรวจวินิจฉัยทางอณูชีววิทยา (PCR) ได้แก่
- PCR for malaria
- PCR for Pneumocystis jiroveci
6. การตรวจอื่นๆ
- การตรวจวิเคราะห์หาฮีโมโกลบินในอุจจาระ (ICT for occult blood)
- การตรวจหาระดับฮีโมโกลบินในอุจจาระ (Fecal free hemoglobin level)
- ตรวจหาไขมันในอุจจาระ (Stain for fat by Sudan stain)
การให้บริการของฝ่ายปรสิตวิทยา ได้รับการรับรองคุณภาพต่าง ๆ ดังนี้
- ฝ่ายปรสิตวิทยาได้รับการรับรองห้องปฏิบัติการอ้างอิงสาขาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน
- ฝ่ายปรสิตวิทยาผ่านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ ISO 15190:2020 ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน
- ฝ่ายปรสิตวิทยาได้รับการรับรองคุณภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน
- ฝ่ายปรสิตวิทยาได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 จนถึงปัจจุบัน
ปริสิตจุฬาฯ บริการด้วยใจ
มั่นในมาตรฐาน งานมีคุณภาพ
มุ่งพัฒนาสู่สากล