โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร

Department of Laboratory Medicine

บริหารตรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งส่งตรวจ สะดวก รวดเร็ว และมีมาตรฐาน

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร เป็นฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2457 โดยเรียกว่าหมวดพยาธิวิทยา รับผิดชอบในการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2490 มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้น จึงโอนงานด้านพยาธิวิทยากายวิภาคไปให้ฝ่ายพยาธิวิทยา ส่วนงานด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางเคมีคลินิกมอบให้ฝ่ายสรีรวิทยาเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนที่อยู่กับฝ่ายพยาธิวิทยามีงานด้านการตรวจทางโลหิตวิทยา

การตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ปี พ.ศ. 2501 คณะเทคนิคการแพทย์ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ขึ้นภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อสอนนักศึกษาเทคนิคการแพทย์และเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลฯ งานของหมวดพยาธิวิทยาที่อยู่กับฝ่ายสรีรวิทยา จึงย้ายมารวมด้วย ปี พ.ศ. 2510 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ย้ายมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2514 คณะเทคนิคการแพทย์ส่วนดังกล่าวโอนมาอยู่กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งเป็นภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตรขึ้น โดยรวมหน่วยงานพยาธิวิทยาคลินิกซึ่งเดิมอยู่กับภาควิชาพยาธิวิทยา กับหน่วยงานเทคนิคการแพทย์ที่โอนเข้ามาด้วยกัน และทำหน้าที่เป็นฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย

การปฏิบัติงานของฝ่ายฯ ส่วนใหญ่เป็นงานด้านบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ตลอดทั้งยังมีห้องปฏิบัติการฉุกเฉินนอกเวลาราชการที่เปิดปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แพทย์ผู้รักษาและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยด้วย ด้านวิชาการภาควิชาเวชศาสตร์ชันสูตรรับผิดชอบในการสอนวิชาพยาธิวิทยาคลินิกสำหรับนิสิตแพทย์ และให้การฝึกอบรมนักศึกษาจากสถาบันอื่น ๆ แพทย์เฉพาะทางในสาขาพยาธิวิทยาทั่วไปและพยาธิวิทยาคลินิก ตลอดจนบุคลากรจากในและต่างประเทศที่สนใจมาศึกษาดูงานหรือฝึกอบรมทางห้องปฏิบัติการ

พันธกิจ

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในฐานะห้องปฏิบัติการกลางของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดำเนินงานตามมาตรฐานสากลในการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจสำหรับผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ ให้บริการตรวจวิเคราะห์รายการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงร่วมดูแล รายการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย ที่มีมาตรฐานระดับสากลรองรับ เพื่อประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงสุด เป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บริการของฝ่ายฯทั้งแพทย์ พยาบาล และ ผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาล

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  • เป็นแหล่งฝึกอบรมสร้างเสริมประสบการณ์ด้านพยาธิวิทยาคลินิกเพื่อสร้างบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาทั้งภายนอก และภายในโรงพยาบาล
  • เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการสำหรับงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในงานดูแลรักษาผู้ป่วยรวมถึงงานดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชนสำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาล
  • เป็นแหล่งเรียนรู้งานทางด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์แก่โรงพยาบาล และหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล
  • สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมทางด้านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล และหน่วยงานอื่นๆ ในโรงพยาบาล

เจตจำนง

ครบวงจร ทันเวลา ด้วยคุณภาพบริการมาตรฐานสากล 

ภาระหน้าที่

เป้าหมาย นโยบาย หรือเครื่องชี้วัดที่ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตรรับมาปฏิบัติ หรือต้องมีส่วนร่วมช่วยผลักดันให้ประสบความสำเร็จ แบ่งออกเป็น 2 แผน ดังนี้

1. แผนยุทธศาสตร์ (Strategy map และ BSC) ของโรงพยาบาล

  • บริการถูกต้องปลอดภัยตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการในทุกมิติ (ISO 9001: ISO 15189 และ ISO 15190 : ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์ และ มาตรฐาน Collage of American Pathologists)
  • การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ 
  • ปรับปรุงกระบวนการบริการผู้ป่วย
  • องค์กรมีความคล่องตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • องค์กรมีธรรมาภิบาล
  • มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
  • บุคลากรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ 
  • บุคลากรได้รับการพัฒนาและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2. แผนของกรรมการระบบและฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ

  • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ สำหรับสิ่งส่งตรวจจาก OPD ภายในเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที ได้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 (POCT – OPD)
  • รายงานผลการตรวจ Stroke fast track ในผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ภายใน 30 นาที ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
  • การจัดหาเตรียมระบบเพื่อแก้ไขปัญหาผู้มาใช้บริการเจาะเลือดปริมาณสูง
  • จัดการให้ความรู้ อบรม และบริการอย่างต่อเนื่องในการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ณ จุดดูแลผู้ป่วย
  • จัดให้เป็นศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
  • การดำเนินการเพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการที่ฝ่ายได้รับอย่างต่อเนื่อง

โครงสร้างและองค์ประกอบย่อยของฝ่าย

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ประกอบด้วย 6 หน่วยงานย่อย ดังนี้

  1. งานตรวจวิเคราะห์ ณ จุดดูแลผู้ป่วย
  2. งานพัฒนาคุณภาพ
  3. งานตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยใน
  4. งานตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยนอก
  5. งานศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ
  6. งาน R&D

การให้บริการของฝ่าย

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตรทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการกลาง (Central laboratory) ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภากาชาดไทย ซึ่งดำเนินการภายใต้กฎหมายไทย รับผิดชอบให้บริการเก็บสิ่งส่งตรวจและจ่ายผลการตรวจให้ฝ่ายอื่น ๆ ด้วย นอกเหนือจากงานตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยดำเนินการตรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งส่งตรวจจากมนุษย์หรือวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ ได้แก่ เลือด ปัสสาวะ น้ำไขสันหลัง ฯลฯ ในสาขาเคมีคลินิก และจุลทรรศน์วิทยาคลินิก (โลหิตวิทยาและตรวจปัสสาวะ) แก่ประชาชนและผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถาบันการแพทย์อื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการวินิจฉัยโรค การรักษาโรค การติดตามโรค การควบคุมโรค การป้องกันโรคและการประเมินสุขภาพ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทางห้องปฏิบัติการที่ฝ่ายฯ รับผิดชอบโดยตรงแก่แพทย์ ผู้ใช้บริการและผู้สนใจทั่วไป

ห้องปฏิบัติการของฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานในทุกมิติของ ฝ่ายฯ ให้เป็นไปตามาตรฐานและมีผลงานที่นำไปเพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2547 นับเป็นห้องปฏิบัติการแห่งแรกของเอเชีย ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานนี้ ได้รับการต่ออายุการรับรองครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2550 ได้รับการรับรองการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ISO 15190 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558 และดำรงมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน
  2. ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:: 2015 ในส่วนของศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564และดำรงมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน
  3. ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 22870:: 2016 Point of care testing เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564และดำรงมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน(ปัจจุบันมาตรฐานนี้ถูกรวมไว้ใน มาตรฐาน ISO 15189)
  4. ได้รับการรับรองมาตรฐานจากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2545 และดำรงมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน
  5. ได้รับการรับรองมาตรฐาน Collage of American Pathologists (CAP) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564
  6. ได้รับการรับรองมาตรฐาน NGSP ระดับ 1 ในการตรวจวิเคราะห์ HbA1C
  7. เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาพยาธิวิทยาคลินิกและเวชศาสตร์บริการโลหิต
  8. ได้รับรางวับ RLU (Rational Lab Use) HOSPITAL AWARD ระดับภาคกลาง ประเภทโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567

นอกจากนี้ ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้รับการยอมรับจากสภาเทคนิคการแพทย์ ให้เป็นสถาบันอบรม (CMTE) นักเทคนิคการแพทย์ทั่วประเทศ  ในส่วนบุคลากรได้รับการอบรมฟื้นฟูวิชาการ ประชุม และสัมมนาทางวิชาการ อย่างต่อเนื่องทุกเดือน มีการประเมินส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กรอยู่ตลอดเวลา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการทุกระดับและผลประโยชน์สูงสุดในขณะที่ลดการสูญเสียได้มากสุดแก่องค์กร รวมถึงจัดตั้งศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อลดภาระของผู้ใช้บริการในการใช้บริการเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการต่าง ๆ พยายามทำทุกอย่างในเรื่องของห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลเป็น one stop service มีการขยายจุดให้บริการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจเพิ่มขึ้น (ภปร 6, สธ 3, นวัตบริบาล 1 , จักรีทศมฯ , ภปร 11 และมีโครงการจะขยายเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต)

ผู้รับบริการทั่วไป

 

ศูนย์/ฝ่าย ผู้ป่วยที่รับบริจาคเจาะเลือด สถานที่ วันทำการ เวลาทำการ
ศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ อายุไม่เกิน 10 ปี อาคาร ภปร ชั้น 11 จันทร์ – ศุกร์ *07.30 – 16.00 น.*
อายุ 10 ปีขึ้นไป อาคาร ภปร ชั้น 6 จันทร์ – ศุกร์ 06.30 – 15.30 น.
อายุ 10 ปีขึ้นไป อาคาร สธ ชั้น 3 จันทร์ – ศุกร์ *06.30 – 15.30 น.*
อายุ 10 ปีขึ้นไป อาคาร จักรีทศมฯ ชั้น 1 จันทร์ – ศุกร์ 06.30 – 15.30 น.
ห้องปฏิบัติการฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร อาคาร ภปร ชั้น 6 จันทร์ – ศุกร์ 06.30 – 16.00 น.
* หยุดพักกลางวัน 12.00 – 13.00 น.*

 

 

ผู้รับบริการคลินิกระบบบริการพิเศษและคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

 

ศูนย์/ฝ่าย สถานที่ วันทำการ เวลาทำการ
ศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ อาคารนวัตบริบาล ชั้น 1 จันทร์ – ศุกร์ 06.30 – 16.00 น.
อาคาร ภปร ชั้น 6 จันทร์ – ศุกร์ 16.00 – 20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ 06.30 – 12.00 น.
อาคาร จักรีทศมฯ ชั้น 1 จันทร์ – ศุกร์ 16.00 – 20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ 06.30 – 12.00 น.
ห้องปฏิบัติการฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร อาคาร ภปร ชั้น 6 จันทร์ – ศุกร์ 16.00 – 20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ 06.30 – 12.00 น.

 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร (อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5)

 

หน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์
งานธุรการ 02 256 4136 และ 02 256 4000 ต่อ 60570, 60575-6
งานตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยนอก (ภปร ชั้น 6) 02 256 5378, 02 256 5387 และ 02 256 5381
งานตรวจวิเคราะห์ผู้ป่วยใน (ภมส ชั้น 3) 02 256 80324-5
งานตรวจวิเคราะห์ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (POCT) (ภมส ชั้น 3) 02 256 4000 ต่อ 80321-2 (ในเวลาราชการ)
02 256 4000 ต่อ 80324-5 (นอกเวลาราชการ)
E-mail : poccchula@gmail.com
Line official: @kcmh_poct
ศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ อาคาร ภปร ชั้น 6 โทร 02 256 5382-3

อาคาร ภปร ชั้น 11 โทร 02 256 5246

อาคาร สธ ชั้น 3 โทร 02 256 4000 ต่อ 70301

อาคาร นวัตบริบาล ชั้น 1 โทร 02 256 5125

เว็บไซต์ ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/

ศูนย์จัดเก็บสิ่งส่งตรวจ http://chulalongkornhospital.go.th/specimencenter/

ไปรษณีย์ ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 5 โซน A 1873 ถนนพระรามที่ 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

บทความที่เกี่ยวข้อง

มอบเข็มในงานพิธีเลื่อนระดับเข็ม แสดงความสามารถพยาบาลแกนนำดูแลผู้สูงอายุ ( CGRN’S )

พิธีเลื่อนระดับเข็ม แสดงความสามารถพยาบาลแกนนำดูแลผู้สูงอายุ ( CGRN'S ) ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

บริจาคเพื่อศูนย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก

นายทวี กิจดำรงชัย และนางเฉลิมศรี กิจดำรงชัย บริจาคเงิน จำนวน 1,000,000 บาท เพื่อศูนย์ไฟไหม้น้ำร้อนลวก

พิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูป รัชกาลที่ 5

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์