ฝ่ายบริหารงานพัสดุ เดิมสังกัดอยู่ใน “ฝ่ายบริหารงานทั่วไป” ซึ่งมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยแบ่งการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานพัสดุ เป็น 3 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริหารการจัดซื้อ, กลุ่มงานบริหารงานกลางและสัญญา และกลุ่มงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป มีนางจริยา ลัทธศักดิ์ศิริ ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดยยึดถือการปฏิบัติแบบ Check and Balance
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีการปรับการทำงานของคลังพัสดุ โดยจัดตั้ง “ศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป” อาคาร สก. ชั้นใต้ดิน เพื่อบริการจัดส่งพัสดุถึงมือผู้ใช้ มีการเบิก – จ่ายพัสดุในระบบออนไลน์ ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการเบิกพัสดุแต่ละหน่วยงานอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ได้ดำเนินการขอปรับโครงสร้างฝ่ายอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 เพื่อให้โครงสร้างฝ่ายถูกต้องตรงกับประกาศโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยแบ่งโครงสร้างเป็น 3 งาน คือ งานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง, งานบริหารงานกลาง และงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป รวมทั้งฝ่ายบริหารงานพัสดุได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงานมาประจำที่อาคารจอดรถหลังที่ 3 อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 2558 และได้ทำการยกเลิกการให้บริการศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป อาคาร สก. ชั้นใต้ดิน
สายการบริหารปัจจุบันของฝ่ายบริหารงานพัสดุ ขึ้นตรงกับรองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายการคลัง โดยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านจัดซื้อจัดจ้าง เป็นผู้บังคับบัญชา และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ คือ นางสุนิสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ปัจจุบัน มีบุคลากรในฝ่ายบริหารงานพัสดุ จำนวน 48 คน
ผังผู้บริหารของฝ่ายบริหารงานพัสดุ
นางสุนิสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ
นางสาวอรพรรณ บุญธรรมรงค์
หัวหน้างานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง
นางสาวกรรณิกา วินัยพานิช
หัวหน้างานบริหารงานกลาง
นางสาวขวัญลักษณ์ จันทร์วิชิต
หัวหน้างานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป
โครงสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงในการให้บริการของฝ่ายบริหารงานพัสดุ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เจตจำนง
“คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้”
จัดหาพัสดุที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ยกเว้น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และงานก่อสร้าง บริหารจัดการวัสดุ/ครุภัณฑ์ให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า บริหารจัดการงานตรวจรับพัสดุ งานครุภัณฑ์ จำหน่ายพัสดุชำรุดฯ บริจาค อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามระเบียบสภากาชาดไทย คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ ดูแลพัสดุคงคลัง และเบิกจ่ายพัสดุทั่วไป ให้เป็นที่พึงพอใจสำหรับหน่วยงาน ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมกับพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
ภาระหน้าที่
ฝ่ายบริหารงานพัสดุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มุ่งมั่นพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องพัสดุให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ของกลุ่มบริการทางการแพทย์ พ.ศ. 2564 มุ่งเน้น ความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
- บริหารการจัดซื้อ/จัดจ้างพัสดุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานภายในโรงพยาบาล ยกเว้น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ งานก่อสร้างและส่วนประกอบอาคาร
- บริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ, งานสินทรัพย์ พร้อมทั้งจำหน่ายพัสดุชำรุด/หมดความจำเป็น/บริจาค
- บริหารการรับ – จ่ายพัสดุคงคลัง (วัสดุทั่วไปและอะไหล่ช่าง) ให้กับหน่วยงาน และดูแลเก็บรักษาพัสดุคงคลัง รวมทั้งครุภัณฑ์ส่วนกลาง
รางวัลหรือความภาคภูมิใจ
- โครงการ การจัดตั้งศูนย์จ่ายพัสดุ รางวัลชมเชยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (กลุ่มงานสนับสนุนบริการ) ประจำปี 2548
- โครงการการจัดหาคู่ค้าหลักในด้านต่างๆ รางวัลชมเชยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (กลุ่มงานสนับสนุนบริการ) ประจำปี 2548
- ผลงานบริการจัดส่งพัสดุถึงมือผู้ใช้บริการภายในโรงพยาบาล รางวัลที่ 2 ประเภทผลสำเร็จของการพัฒนากระบวนการกลุ่มสนับสนุนบริการ การประกวดผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2551
- กลุ่ม Delivery Express ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพัฒนาคุณภาพ (CQI) หน่วยงานสนับสนุน ประจำปี 2552
- กลุ่ม สมูตตี้ สตอเบอรี่ ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (CQI) หน่วยงานสนับสนุน ประจำปี 2552
- โครงการ Chula Reuse
- โครงการ ตลาดนัด ฬ. Market
- การบริจาควัสดุ/ครุภัณฑ์หมดความจำเป็นให้กับโรงพยาบาล ศาสนสถาน และสถาบันการศึกษาที่ขาดแคลน
โครงสร้างของฝ่ายบริหารงานพัสดุประกอบด้วย 3 หน่วยงานดังนี้
1. งานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานวางแผนการจัดซื้อและจัดจ้าง งานจัดทำสัญญา
- งานจัดทำและตรวจสอบข้อกำหนดของงาน และจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2564
- งานออกใบสั่งซื้อ / สั่งจ้าง / งานออกใบสั่งตามสัญญา
- งานขอตั้งรหัสวัสดุ/รหัสครุภัณฑ์
- งานคืนหลักค้ำประกันสัญญา
- งานบริการให้คำปรึกษากับหน่วยงานภายในโรงพยาบาล
- งานประสานคู่ค้าภายนอก
2. งานบริหารงานกลาง
แบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
2.1 งานธุรการ
- งานสารบรรณ/รับ ส่งเอกสาร
- งานติดตามเอกสาร
- งานบริหารบุคลากรของฝ่าย
- บันทึกประวัติการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
- ตรวจสอบวันลา และข้อมูลต่าง ๆ ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- สวัสดิการภายในของฝ่ายบริหารงานพัสดุ
- งานพัฒนาคุณภาพของฝ่าย
- งานโครงการฯ ของฝ่าย
2.2 งานตรวจรับ
- งานบริหารสัญญา
- งานตรวจรับพัสดุที่ส่งมอบ ตามใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง
- งานการจัดส่งพัสดุตามใบสั่งซื้อ/จ้าง
- งานรับและออกใบวางบิลให้แก่บริษัท, ห้างร้าน
- งานตรวจสอบเอกสารบริษัท, ห้างร้าน และนำส่งเบิกจ่ายเงิน
2.3 งานสินทรัพย์
- บันทึกข้อมูลลงทะเบียนครุภัณฑ์และออกบาร์โค้ด
- จัดทำประวัติครุภัณฑ์ให้หน่วยงานเก็บเป็นหลักฐาน
- งานโอนย้ายทะเบียนครุภัณฑ์
- งานลงทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ส่งคืน/ชำรุด/บริจาค
- งานประมูลจำหน่ายพัสดุชำรุด
- งานตัดจำหน่ายครุภัณฑ์
- งานตรวจนับ/จัดทำรายงานครุภัณฑ์ประจำปี
3. หน่วยงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานวางแผนและบริหารจัดการวัสดุคงคลัง
- งานควบคุมเบิก – จ่ายคลังวัสดุทั่วไป
- งานควบคุมเบิก – จ่ายคลังอะไหล่ช่าง
- งานควบคุมเบิก – จ่ายครุภัณฑ์ส่วนกลาง
- งานบริหารวัสดุให้มีเพียงพอต่อความต้องการ
- งานขอตั้งรหัสวัสดุในคลัง
- งานจัดเก็บรักษาวัสดุคงคลัง
- รายงานการเบิก-จ่าย-วัสดุคงเหลือประจำเดือน
- งานตรวจนับและจัดทำรายงานวัสดุคงคลัง
ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน
- หน่วยงานและบริษัทแก้ไขคุณลักษณะภายหลังได้รับการอนุมัติในการจัดซื้อ
- เอกสารไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนทำให้ไม่สามารถคีย์ข้อมูลตรวจรับและส่งเบิกจ่ายเงินได้
- บริษัทส่งสินค้าไม่ตรงกับใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง เช่นผิดสี, ผิดรุ่น, ขนาดไม่ถูกต้อง เป็นต้น
- บริษัทส่งของไม่ตรงตามกำหนดส่งมอบงาน
- บริษัทส่งของไม่ครบตามจำนวน