โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายนิติเวชศาสตร์

Department of Forensic Medicine

นิติเวชจุฬา เดินหน้าสู่ความเป็นนานาชาติ

ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งโดย ศ.พ.ต.อ.นพ.ถวัลย์ อาศนะเสน เมื่อปี พ.ศ. 2508 จากหน่วยนิติเวชวิทยาซึ่งอยู่ภายใต้ภาควิชาพยาธิวิทยา โดยมีงานด้านศพคดี ปฏิบัติงานที่อาคารพยาธิวิทยา และงานด้านผู้ป่วยคดี ปฏิบัติงานที่โถงอาคารจักรพงษ์

ปี พ.ศ. 2510 ได้ขอเสนอยกฐานะหน่วยงานเป็นแผนกวิชานิติเวชวิทยา ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2511 มีข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มแผนกนิติเวชวิทยา ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีที่ทำการที่อาคารนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 

ปี พ.ศ. 2519 มีตำรานิติเวชศาสตร์เล่มแรกของภาควิชานิติเวชศาสตร์ โดย ศ.พ.ต.อ.นพ.ถวัลย์ อาศนะเสน

ปี พ.ศ. 2526 เปิดหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขานิติเวชศาสตร์ เพื่อรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขานิติเวชศาสตร์ โดยมีผู้เข้าอบรมครั้งแรกในปี พศ. 2528

ปี พ.ศ. 2531 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขานิติเวชศาสตร์

ปี พ.ศ. 2537 ภาควิชาฯ ได้จัดทำตำรานิติเวชศาสตร์ โดยคณาจารย์ภาควิชาฯ โดยมี ผศ.นพ.แมน อิงคตานุวัฒน์ และผศ.นพ.อุดมศักดิ์ หุ่นวิจิตร เป็นบรรณาธิการ

ปี พ.ศ. 2543 ภาควิชาฯ ได้รับผิดชอบพื้นที่การชันสูตรศพในพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 และทางด่วน

ปี พ.ศ. 2550 วารสารนิติเวชศาสตร์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน – กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ปี พ.ศ. 2554 ภาควิชานิติเวชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชียน (AFSN, Asian Forensic Sciences Network)

ปี พ.ศ. 2554 เปิดหลักสูตรปริญญาโทวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก แขนงนิติวิทยาศาสตร์

ปี พ.ศ. 2554 Prof.Dr.Bruce Budowle ให้เกียรติเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนการวิจัยด้านนิติพันธุศาสตร์

ปี พ.ศ. 2556 การทำวิจัยการชันสูตรศพใหลตายร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียว

ปี พ.ศ. 2561 ภาควิชาฯ ได้รับความร่วมมือกับ Dr.Robert Mann ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติมานุษยวิทยา ในการจัดการฝึกอบรมระยะสั้นและการเรียนการสอนการวิจัยระดับหลังปริญญา

พันธกิจ

  1. ผู้นำด้านวิชาการและบริการทางนิติวิทยาศาสตร์
  2. พัฒนาระบบบริการทางนิติเวช สู่มาตรฐานสากล
  3. ผลิตงานวิจัยคุณภาพสูงและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
  4. ผลิตบุคลากรทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพพร้อมคุณธรรม

เจตจำนง

นิติเวชจุฬา เดินหน้าสู่ความเป็นนานาชาติ

โครงสร้างของฝ่ายนิติเวชศาสตร์

ฝ่ายนิติเวชศาสตร์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน และ 12 หน่วยงานย่อย ได้แก่

1. กลุ่มงานบริการ ประกอบด้วย

  • ศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ
  • หน่วยนิติเวชคลินิก
  • หน่วยนิติเซโรวิทยาและดีเอ็นเอ
  • หน่วยนิติพยาธิวิทยา
  • หน่วยนิติรังสีวิทยา
  • หน่วยนิติพิษวิทยา

2. กลุ่มงานวิชาการและวิจัย ประกอบด้วย

  • หน่วยการศึกษาปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา
  • หน่วยวิจัย
  • หน่วยโสตและทัศนูปกรณ์

3. กลุ่มงานบริหาร ประกอบด้วย

  • หน่วยบริหารภาควิชาฯ
  • หน่วยบริหารฝ่ายฯ
  • หน่วยประกันและพัฒนาคุณภาพ

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. งานบริการชันสูตรพลิกศพของศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ ภาควิชานิติเวชศาสตร์ ให้บริการตรวจชันสูตรพลิกศพ ณ ที่พบศพ การผ่าชันสูตรศพ การฉีดยารักษาสภาพศพ และงานวัตถุพยาน
  2. งานบริการนิติเวชคลินิกให้บริการตรวจผู้ป่วยคดีและออกใบรับรองแพทย์
  3. งานบริการนิติพันธุศาสตร์และดีเอ็นเอ ให้บริการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์พ่อ แม่ ลูก และความสัมพันธ์ในเครือญาติ รวมถึงการตรวจพิสูจน์หลักฐานการล่วงละเมิดทางเพศ
  4. งานบริการนิติพิษวิทยา ให้บริการตรวจวิเคราะห์ยา สารพิษ และสารเสพติด
  5. งานบริการต่าง ๆ สอบถามข้อมูลรายละเอียดได้จากหน่วยปฏิบัติงานในแต่ละการบริการ

ห้องปฏิบัติการนิติพันธุศาสตร์และเซโรโลยี

การตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ในครอบครัว (ตรวจสารพันธุกรรม DNA)

ห้องปฏิบัติการนิติพันธุศาสตร์และเซโรโลยี ฝ่ายนิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ในครอบครัว ระหว่างบิดา มารดา-บุตร, พี่น้อง และเครือญาติ โดยตรวจสารพันธุกรรม DNA  ซึ่งผลการตรวจสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาทางกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐ

เอกสารประกอบการรับบริการตรวจสารพันธุกรรม DNA

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง (Passport) กรณีเป็นชาวต่างชาติ
  2. สูติบัตร ของบุตรที่ปรากฎชื่อมารดาในสูติบัตร
  3. ทะเบียนบ้าน  ในกรณีผู้รับบริการไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุน้อยกว่า 20 ปี)

เอกสารเพิ่มเติมที่ต้องนำมา ในกรณีดังต่อไปนี้

  1. ในกรณีต้องการขอถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ต้องมีหนังสือนำส่งจากหน่วยงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
  2. ในกรณีไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน หรือชื่อไม่ตรงกับบัตรประชาชน,สูติบัตร หรือหนังสือเดินทางต้องมีหนังสือนำส่งจากทะเบียนราษฎร์
  3. หากผู้รับบริการมีการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล ต้องนำเอกสารการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐาน

เกณฑ์การให้บริการ

  1. ผู้รับบริการต้องมีอายุมากกว่า  2  เดือนขึ้นไป
  2. ในกรณีผู้รับบริการอายุไม่เกิน  20  ปี  ต้องมีมารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมายของผู้รับบริการมาให้ความยินยอมในการตรวจ
  3. ต้องโทร.นัดหมายกับเจ้าหน้าที่หน่วยนิติเวชคลินิกก่อนทุกครั้ง เพื่อลงตารางนัดเพื่อรับการตรวจ DNA
  4. หากบิดา หรือ มารดา เสียชีวิต ให้นำใบมรณะบัตรแสดงต่อเจ้าหน้าที่ หน่วยนิติเวชคลินิก เพื่อเป็นหลักฐาน
  5. การพิจารณารูปแบบการตรวจอยู่ในดุลยพินิจของผู้ให้บริการตรวจ

รูปแบบและอัตราค่าบริการ (ไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์)

  1. ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ บิดา มารดา บุตร (Forensic STR) 5,000  บาท / คน
  2. ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายบิดา เช่น บิดา-บุตรชาย พี่ชาย-น้องชายร่วมบิดาเดียวกัน ลุง-หลานชาย (Forensic STR และ Y-Chromosome  STR) 12,000  บาท / คน
  3. ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายมารดา เช่น มารดา-บุตร น้า-หลาน (Forensic STR และ Mitochondrial  DNA (HV1 and HV2) 15,000  บาท / คน

การตรวจติดตามการปลูกถ่ายไขกระดูก (Chimerism test)

บริการตรวจติดตามเพื่อเปรียบเทียบลายพิมพ์ DNA ระหว่างผู้ป่วยภายหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก และผู้บริจาคว่ามีลักษณะตรงกันหรือไม่ โดยผลตรวจสามารถช่วยประเมินภาวะผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายเพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลต่อไปได้

รูปแบบและอัตราค่าบริการ (ไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์)

การตรวจติดตามการปลูกถ่ายไขกระดูก (Chimerism test) 5,000  บาท / คน

ห้องปฏิบัติการนิติพิษวิทยา

ห้องปฏิบัติการนิติพิษวิทยา  ฝ่ายนิติเวชศาสตร์  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการตรวจวิเคราะห์ยา สารเสพติด สารพิษ สารระเหย และสารโลหะหนัก จากตัวอย่างและชีววัตถุประเภทต่างๆ  ทั้งในเชิงคุณภาพวิเคราะห์และปริมาณวิเคราะห์

หมายเหตุ :

  1. ในกรณีที่ต้องการผลเร่งด่วนนอกเหนือจากกำหนดระยะรายงานผลให้ติดต่อประสานงานกับห้องปฏิบัติการก่อนส่งตรวจ
  2. ในกรณีส่งตรวจตัวอย่างจำนวนมาก กรุณาติดต่อห้องปฏิบัติการก่อนส่งตรวจ
  3. ห้องปฏิบัติการรับตัวอย่างสุดท้ายของวันศุกร์ หรือ  วันก่อนวันหยุดราชการในเวลาไม่เกิน 15.00 น.

อาคาร ภปร ชั้น 5 

หน่วยนิติเวชคลินิก หรือหน่วยนิติเซโรวิทยาและดีเอ็นเอ

เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันทำการ (บริการตรวจผู้ป่วยคดี เวลา 09.00 – 12.00 น.)

 

อาคารนิติเวชศาสตร์ 

ศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ 

เวลา 08.00 – 16.00 น. ทุกวัน โดยมีเวรรับแจ้งและการปฏิบัติงานการตรวจชันสูตรพลิกศพ ณ ที่พบศพ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

 

อาคาร อปร ชั้น 11

หน่วยนิติพิษวิทยา

เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันทำการ

 

อาคารนิติเวชศาสตร์

หน่วยนิติรังสีวิทยา, หน่วยนิติมานุษยวิทยา และหน่วยงานอื่น ๆ

เวลา 08.00 – 16.00 น. ในวันทำการ

 

สอบถามข้อมูลการตรวจ DNA ได้ที่

อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์ (Ex – OPD) ชั้น 4 หน่วยนิติเวชคลินิก

  • 09.00 – 12.00 น.  ให้บริการตรวจผู้ป่วยตามนัด
  • 13.00 – 15.30 น.  ให้บริการติดต่อสอบถามด้าน DNA และอื่น ๆ

 

ห้องปฏิบัติการนิติพิษวิทยา

อาคาร มงกุฏ-เพชรรัตน์  ชั้น 7

วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 15.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

 

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายนิติเวชศาสตร์

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4269

 

หน่วยนิติเวชคลินิก

02 256 4000 ต่อ 63414, 63415

 

ห้องปฏิบัติการนิติพิษวิทยา

02 256 4000 ต่อ 72701

บทความที่เกี่ยวข้อง

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดูงาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายบริการ ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์ ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นางพรทิพย์ ควรคิด หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

อบรมหลักสูตรพัฒนารองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ฯ กระทรวงสาธารณสุข รุ่นที่ 14

สมาคมนักบริหารสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จัดอบรมหลักสูตรพัฒนารองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ฯ กระทรวงสาธารณสุข รุ่นที่ 14 เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความรู้ และบริหารทรัพยากรโรงพยาบาลที่เหมาะสม

งานแถลงข่าว “แสงแห่งความหวัง”โครงการรักษาพยาบาลด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ

โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีโรคซับซ้อนให้มีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับโรค สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์