โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายการเงิน

Department of Finance

บริหารจัดการตามแนวนโยบาย และระเบียบทางการเงิน อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้

ในช่วงเวลาก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 นั้นยังไม่มีฝ่ายการเงินอย่างเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เพื่อเป็นถาวรประโยชน์ ใช้ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยยากไร้ ระยะต่อมาคณะผู้บริหารโรงพยาบาลได้มีการปฏิรูปและบริหารจัดการหน่วยงานต่างๆ ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เช่น แผนกเลขานุการ แผนกธุรการ ซึ่งแบ่งเป็น หน่วยเงินเชื่อ หน่วยเงินสด หน่วยจัดซื้อ อาคารสถานที่ หน่วยช่าง หน่วยรักษาความปลอดภัย ต่อมาหน่วยเงินเชื่อและหน่วยเงินสดได้รวมเข้าด้วยกันเป็นแผนกการเงินและบัญชี หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งจากแผนกการเงินและบัญชี เป็นฝ่ายการเงินและบัญชี ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน คือ หน่วยเงินสด หน่วยเงินเชื่อ หน่วยใบสำคัญ หน่วยงบประมาณ หน่วยบัญชี และอีก 1 ศูนย์ (ศูนย์บันทึกข้อมูล)

ในปี พ.ศ. 2547 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ปรับระบบการบริหารจัดการภายในของฝ่ายการเงินและบัญชี ให้สอดคล้องกับนโยบายของระบบประกันสุขภาพ รวมถึงภาระงานที่เพิ่มขึ้นจึงได้มีการปรับโครงสร้างฝ่ายการคลัง โดยแยกฝ่ายการเงินและบัญชีออกเป็น  2 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชีและงบประมาณ วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว และรวดเร็วขึ้น โดยมีหัวหน้าฝ่ายการเงินในอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

  1. นางนุชรัตน์ ศรีวรวิทย์               ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินปี พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2551
  2. นางประพันธ์ศรี เลิศฉัตรโกศล      ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 – 30 กันยายน 2563
  3. นางสาวภัณฑิรา ชื่นจิตร            ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

“ฝ่ายการเงิน” ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการ มุ่งเน้น “บริการดี มีคุณธรรม นำสู่การพัฒนา” บริหารองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนควบคู่ไปกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

พันธกิจ

  1. วางแผนบริหารการจัดเก็บเงินรายได้อย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ทันต่อปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. ศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัย
  3. มีระบบควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
  4. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนงาน ควบคู่กับการให้บริการที่ดีโดยมุ่งเน้น Customer centric

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. พัฒนางานการเงินอย่างเป็นระบบ 
  2. เป็นศูนย์กลางด้านการบริหารการจัดเก็บเงินรายได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการ

เจตจำนง

ฝ่ายการเงินเป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บเงินรายได้ พร้อมก้าวไปข้างหน้าให้องค์กรก้าวไกลเป็นสถาบันชั้นนำระดับนานาชาติ

ภาระหน้าที่

ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการเงินให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งด้านการจัดเก็บเงินรายได้และบริการ มีระบบบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีการประสานงาน ภายในและภายนอกแบบบูรณาการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์สนองต่อนโยบายโรงพยาบาล และสภากาชาดไทย รวมทั้งพัฒนาระบบการทำงานควบคู่ไปกับ การพัฒนาบุคลากรให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน เกิดคุณค่าต่อยอดซึ่งกันและกัน มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรภายในฝ่ายมี Core Value ร่วมกัน คือ “ซื่อสัตย์  โปร่งใส  บริการด้วยใจ  รักษาวินัยทางการเงิน” ภายใต้คำว่า “FINCHULA”

F = Fidelity                         ซื่อสัตย์  มีความเที่ยงตรง จงรักภักดี เชื่อถือได้

I = Integrity                         พัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย ยึดมั่นในคุณธรรม

N = Need participation          ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย

C = Change                         พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตนเอง รู้จักปรับตัวและใฝ่รู้

H = Harmony                      ความสามัคคี โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ “เพื่อองค์กร”

U = Unity                           มีความเป็นหนึ่งเดียว

L = Leadership                    มีภาวะผู้นำ และมีการเรียนรู้

A = Altruism                       คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

การให้บริการของฝ่ายการเงิน

ฝ่ายการเงินมุ่งเน้นในการพัฒนาพฤติกรรมบริการให้แก่บุคลากรภายในฝ่ายการเงิน มีการปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรใส่ใจหลักคุณธรรมควบคู่ ไปกับการพัฒนาองค์กรและสังคม โดยมุ่งเน้นลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Customer centric)  เพื่อให้ผู้บริการได้รับการบริการที่ดี และเกิดความพึงพอใจสูงสุด รวมถึงสามารถจัดเก็บเงินได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ฝ่ายการเงินได้ยึดถือคุณภาพควบคู่คุณธรรมเป็นหัวใจหลักในการให้บริการโดยได้รับรางวัล ผลงานคุณภาพบริการด้วยแนวคิด Lean ประเภทดีเด่น ในงาน Quality market ครั้งที่ 3 Lean and innovation ปี พ.ศ. 2553 โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานภายในฝ่ายการเงิน ดังนี้

  1. งานรับเงินผู้ป่วยนอก
    • บริหารจัดการจัดเก็บเงินรายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกอาคารภปร., อาคารจักรีทศมรามาธิบดินทร์, อาคารจงกลนี
    • บันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลลูกหนี้เงินเชื่อตามสิทธิการรักษาพยาบาล
    • จัดเก็บเงินรายได้เบ็ดเตล็ดต่างๆ 
  2. งานรับเงินผู้ป่วยใน 
    • บริหารจัดการจัดเก็บเงินรายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์, อาคารสก., อาคารว่องวานิช รวมถึงคลินิกระบบบริการพิเศษผู้ป่วยในอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และอาคารนวัตบริบาล
    • บริหารจัดการจัดเก็บเงินรายได้ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ (ER), อาคารศูนย์ความเป็นเลิศ, อาคารนวัตบริบาล, อาคารว่องวานิช, อาคารอับดุลราฮิม และอาคารสธ.
    • บันทึกข้อมูลค่ารักษาพยาบาลลูกหนี้เงินเชื่อตามสิทธิการรักษาพยาบาล
    • รับเงินบริจาคการยืมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ 
  3. งานเงินเชื่อ
    • งานตรวจสอบการเปิดสิทธิการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน
    • งานตรวจสอบปิดบัญชีแจ้งหนี้ (Invoice) ค่ารักษาพยาบาลลูกหนี้เงินเชื่อ
    • งานเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลทั้งระบบ electronic claim และ Manual
    • งานอุทธรณ์การเบิกจ่าย
    • งานจัดทำรหัสค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  4. งานเงินกลาง
    • งานรับเงิน
      • งานรับเงินรายได้ค่ารักษาพยาบาล การรับชำระค่ารักษาพยาบาลลูกหนี้เงินเชื่อสิทธิการรักษาต่างๆ
      • งานรับเงินรายได้เบ็ดเตล็ด เช่น การตรวจสอบค่าไฟฟ้าหอพัก และอนุมัติตัดยอดค่าไฟฟ้าหอพัก การตรวจสอบและอนุมัติตัดยอดค่าใช้พื้นที่จอดรถบุคลากร ผ่านระบบ Payroll การจัดเก็บค่าเช่าร้านค้าอาคารต่างๆ ภายในโรงพยาบาล, ค่าใช้พื้นที่จอดรถผู้รับบริการ, ค่าค้ำประกันซอง ค้ำประกันสัญญา ค่าธรรมเนียมต่างๆ, ค่ารถพยาบาล ฯลฯ
      • งานรับเงินบริจาค การรับเงินบริจาคระบบ e-donation จากบัญชี ฬ สะพานบุญ การตรวสอบการรับเงินบริจาคผ่านช่องทาง Online ต่างๆ เช่น Chula Care, QR code, การโอนเงิน, สื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคาร การออกใบเสร็จรับเงินบริจาค ใบอนุโมทนา และขอสิทธิผู้มีอุปการคุณ
      • งานสรุปนำส่งเงินรายได้ทุกประเภทของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อนำส่งสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทยประจำวัน
    • งานจ่ายเงิน
      • งานบริหารจัดการเงินเงินรองจ่ายโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
      • งานสรุปภาษีเงินได้นำส่งสำนักงานการคลัง
      • งานจ่ายเงินเดือน และค่าตอบแทนบุคลากรของโรงพยาบาลที่ไม่อยู่ในระบบ HRMi
      • งานจัดทำงบพิสูจน์ยอดบัญชี และควบคุมระบบการ control book bank ตรวจสอบ statement บัญชีธนาคารทุกบัญชีของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  5. งานติดตามหนี้
    • งานติดตามหนี้ลูกหนี้เงินสดค้างชำระ และการเจรจาต่อรอง
    • งานติดตามหนี้ลูกหนี้เงินเชื่อค้างชำระ และการวิเคราะห์ Aging Report
    • งานติดตามหนี้กรณีผิดสัญญาต่างๆ
    • การจัดทำรายงานขออนุมัติตัดหนี้สูญส่วนขาด DRG กรณีผู้ป่วยใน และสิ้นสุดภาระหนี้กรณีผู้ป่วยนอก
  6. งานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
    • งานวิเคราะห์ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางการเรียกเก็บระบบประกันสุขภาพของประเทศ
    • งานจัดทำ Statement การจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ระบบ electronic claim
    • งานตรวจสอบการปฏิเสธการจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์
    • งานพัฒนาคุณภาพฝ่ายการเงิน
  7. งานธุรการ
    • งานสารบรรณ และการจัดทำทะเบียนคุมหนังสือเข้า-ออก
    • งานอัตรากำลัง และการเบิกค่าตอบแทนผ่านระบบ HRMi
    • งานบริหารพัสดุ และการบริหารจัดการใบเสร็จรับเงินผ่านระบบ FMIS
    • งานร่าง-โต้ตอบ การจัดทำหนังสือ และการทำหนังสือสัญญาข้อตกลงกับต้นสังกัดต่างๆ

งานบริการ

สถานที่ งานบริการ วัน/เวลา เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน
งานรับเงินผู้ป่วยนอก
อาคาร ภปร ชั้น 4 คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 3233
อาคาร ภปร ชั้น 5 คลินิกอายุรกรรมเฉพาะทาง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น. 02 256 5403
อาคาร ภปร ชั้น 6 เจาะเลือดและส่งสิ่งสิ่งตรวจ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 06.00 – 16.00 น. 02 256 5384
อาคาร ภปร ชั้น 6 เอกซเรย์ทั่วไป วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5384
อาคาร ภปร ชั้น 9 คลินิกนรีเวชกรรม/คลินิกวางแผนครอบครัว วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5297
อาคาร ภปร ชั้น 10 คลินิกสูติกรรม/มีบุตรยาก วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5276
อาคาร ภปร ชั้น 11 คลินิกกุมารเวชกรรม/คลินิกศัลยกรรมกุมาร วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น. 02 256 5247
อาคาร ภปร ชั้น 12 คลินิกโสต ศอ นาสิกวิทยา/คลินิกศัลยกรรมศรีษะและคอ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5222
อาคาร ภปร ชั้น 13 คลินิกบริการทางการแพทย์ขั้นสูง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5191
อาคาร ภปร ชั้น 15 คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5077
อาคาร ภปร ชั้น 16 คลินิกโรคผิวหนัง/โรคปอด/โรคติดเชื้อ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5114
อาคาร ภปร ชั้น 18 คลินิกเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น. 02 256 5422
อาคาร ภปร ชั้น 19 คลินิกทันตกรรม/คลินิกระงับปวด วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 5163
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 1 เจาะเลือดและส่งสิ่งสิ่งตรวจ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 06.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63108
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 2 ห้องยา/เวชภัณฑ์ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63212
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 3 เอกซเรีย์ทั่วไป/อัลตร้าซาวน์ด์/แมมโมแกรม/ฟลูออโรสโคป วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63327
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 4 คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ/คลินิกนิติเวช วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63424
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 5 คลินิกศัลยศาสตร์ทั่วไป/คลินิกศัลยกรรมหลอดเลือด/คลินิกศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63516
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 6 คลินิกศัลยศาสตร์หัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก/คลินิกศัลยกรรมประสาท/คลินิกศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง/คลินิกศัลยกรรมระบบปัสสาวะ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63616
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 7 คลินิกจักษุทั่วไป วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63720
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 8 คลินิกจักษุเฉพาะทาง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 63821
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 10 คลินิกเตรียมผู้ป่วยก่อนรับไว้ในรพ. (Pre-admission)/ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านกระจกตาและผิวดวงตา วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 64012
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 12 คลินิกอายุรกรรมทั่วไป วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 64216
อาคาร จักรีทศมรามาธิบดินทร์ ชั้น 13 คลินิกอายุรกรรมเฉพาะทาง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 64320
อาคารจงกลณี ชั้น 3 คลินิกโรคติดเชื้อ/คลินิกวัณโรค วันศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น. 02 256 5163
งานรับเงินผู้ป่วยใน
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ (อาคารศูนย์ความก้าวหน้าทางวิชาการ) ชั้น B1 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 60169
อาคาร สก.ชั้น 2 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 3302, 3322, 3366
อาคารอับดุลราฮิม ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 3252, 3202, 3403
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1 โซน C ศูนย์รับเงิน ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 07.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 80170
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์(ER) ชั้น M โซน A ศูนย์รับเงิน ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 02 256 4000 ต่อ 83043, 83044
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M โซน B ศูนย์รับเงิน ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง 02 256 4000 ต่อ 80124-34
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 07.30 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 80207
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 80455
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 8 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 80845, 80846
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 10 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 81012
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 18 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 81809, 81810
อาคาร ส.ธ. ชั้น 3 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 70302
อาคาร ส.ธ. ชั้น 9 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 70912
อาคารนวัตบริบาล ชั้น 1 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 4776, 3060
อาคารว่องวานิช ชั้น 4 ศูนย์รับเงิน ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น. 02 256 4000 ต่อ 3200
ชื่อหน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน สถานที่ E-mail หน่วยงาน
งานธุรการ 02 256 4000 ต่อ 3007, 4430 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 fin.cuhosp@gmail.com
งานรับเงินผู้ป่วยนอก 02 256 5465 อาคาร ภปร ชั้น M finopd5465@gmail.com
งานรับเงินผู้ป่วยใน 02 256 4000 ต่อ 80135 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M finance_ipd@outlook.co.th
งานเงินกลาง 02 256 4856 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 cf.kcmh@gmail.com
งานติดตามหนี้ 02 256 4859 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 cudebt@gmail.com
งานเงินเชื่อ 02 256 4314 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 chula.credit@gmail.com
งานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน 02 256 5103 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 datafinanceanalysis@gmail.com
หัวหน้าฝ่ายการเงิน 02 256 4759 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12 Phantira.c@chulahospital.org

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดกิจกรรม สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน : Safety Week ครั้งที่ 3

โครงการ “ สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน : safety week ครั้งที่ 3” ประจำปี 2567 ภายใต้คำขวัญ "ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน มีสติทำงานเป็นนิสัย เพื่อวัฒนธรรมความ ปลอดภัยอย่างยั่งยืน"

บริษัท มายการพิมพ์ จำกัด บริจาคเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจน

บริษัท มายการพิมพ์ จำกัด บริจาค AIRVOTM 2 High flow oxygen มูลค่า 200,000 บาท เครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

มอบเงินสนันสนุน

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มอบเงินสนับสนุนให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์