โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

Department of Emergency Medicine

ช่วยชีวิตฉับไว วินิจฉัยแม่นยำ เพียบพร้อมคุณธรรม เลิศล้ำวิชาการ

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ได้รับการตั้งเป็นฝ่ายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 เพื่อจำแนกงานในการดูแลผู้ป่วยนอกที่มีภาวะฉุกเฉินรวมไปถึงการดูแล ก่อนถึงโรงพยาบาลและการส่งตัวผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดราชการ เน้นให้การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะวิกฤตและกึ่งวิกฤต ปัจจุบันห้องฉุกเฉินตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีการออกแบบห้องฉุกเฉินให้มีความทันสมัยมีเครื่องตรวจติดตามอาการเพื่อการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที หน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉินมีการให้บริการผู้­ป่วย ทั้งหมดประมาณ 45,000 รายต่อปี มีทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรกรรม ศัลยกรรม และกุมารแพทย์ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากการให้บริการผู้ป่วยยังมีการเรียนการสอนในห้องฉุกเฉินสำหรับแพทย์ประจำบ้าน นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ 6 รวมถึงนิสิตเภสัชกรและนิสิตพยาบาล    

นอกจากนี้ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังเป็นตัวแทนการสัมมนาและฝึกอบรมการใช้ Ultrasound ในผู้ป่วยวิกฤต World Interactive Network Focused On Critical Ultrasound (WINFOCUS) Training Unit ซึ่งมีการจัดฝึกอบรมทุกปี

รางวัล หรือความภาคภูมิใจ

  1. ได้รับประกาศนียบัตร จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)ด้านมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ซึ่งเน้นการพัฒนา คุณภาพการดูแลผู้ป่วย การสร้างเสริมสุขภาพ และการบริหารองค์กร

  2. ได้รับรางวัลชนะเลิศรองชนะเลิศอันดับ 1 The 5th Emergency Medicine Tournament จากภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

  3. ได้รับรางวัล Our Greatest Application From  Emergency Department Hospital University Sains Malaysia

  4. ได้รับรางวัล 5th Thailand Emergency Medicine Award 2018 Station: Advanced Cardiac Life Support จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  5. ได้รับรางวัล 3rd Thailand Emergency Medicine Award 2014 Station PREHOSPITAL CARE

  6. ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพสถาบันฝึกอบรม Postgraduate Medical Education WFME Global Standards for Quality Improvement

  7. ดำเนินการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการประจำปี “เวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medicine Chula Conference” ทุกปี

  8. ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Friday Night at the ER and TEAMSTEPPS workshop Simulation tool for Team Learning แก่บุคลากรต่าง ๆ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

เจตจำนง

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในฝ่ายที่สังกัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มุ่งผลิตแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มีความสามารถสูง และมีความใฝ่รู้ คู่คุณธรรมพร้อมทั้งมีการสร้างงานวิจัย และผลงานวิชาการ ที่มีคุณค่าเป็นแหล่งอ้างอิงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ มีความเป็นเลิศทางด้านงานบริการผู้ป่วยและมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ภาระหน้าที่

1. ผลิตแพทย์ฉุกเฉินตามเกณฑ์มาตรฐานผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ของแพทยสภา โดยคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพของชุมชนและสังคม ดังนี้

  • ผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่มีความรู้ความสามารถด้านทักษะและวิชาการ ในฐานะแพทย์ฉุกเฉินสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมไปประกอบวิชาอาชีพและพัฒนาสังคมที่ตนอยู่ได้
  • ผลิตแพทย์ฉุกเฉินซึ่งมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อไปปฏิบัติงาน ในโรงเรียนแพทย์ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก และสถาบันฝึกอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะ
  • ผลิตแพทย์ฉุกเฉินเพื่อบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินที่มาใช้บริการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์รวมถึงการดูแลผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลในเขตรับผิดชอบ

2. ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

3.  ผลิตงานวิจัย หรือองค์ความรู้ที่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ

การให้บริการของฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ด้าน Service

ER & Resuscitation

ห้องฉุกเฉินให้การดูแลผู้ป่วยตั้งแต่อาการหนักวิกฤตจนถึงผู้ป่วยเร่งด่วน โดยภายในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นโซน สำหรับผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในแต่ละโซนยังมีโซนย่อยสำหรับผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน (Resuscitation Zone) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุดเทียบเท่ามาตรฐานสากลนอกจากนี้ภายในห้องฉุกเฉินยังมีห้องเอกซเรย์และห้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

ER – Observation unit

ห้องสำหรับสังเกตอาการได้มีการปรับปรุงขึ้นใหม่ เพื่อรองรับผู้ป่วย ที่ต้องการสังเกตอาการภายในเวลาไม่เกิน 48 ชม.โดยอยู่ที่อาคารจุฬาภรณ์ชั้น 2 (อยู่ด้านบนห้องฉุกเฉิน)มีศักยภาพสามารถดูแลผู้ป่วยได้ทั้งหมด 10 เตียง โดยจะมีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อาจารย์แพทย์ และพยาบาลฉุกเฉิน ทำหน้าที่ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเต็มที่ในที่ที่เหมาะสม และสังเกตอาการต่อจากห้องฉุกเฉินอ้างอิงตามข้อกำหนดของห้องสังเกตอาการ ตามหลักของ American College of Emergency Physicians 2014

EMS Unit Center

เนื่องจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการดูแลและช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอน แพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ให้มีความสารถในการดูแลเจ็บป่วยฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลได้มากยิ่งขึ้น จึงได้มีการเพิ่มอัตรากำลัง จาก 1 ทีม เป็น 2 ทีม ตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับการดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในพื้นที่โซน 9 ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประกอบด้วยแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติฉุกเฉิน พยาบาลวิชาชีพ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ โดยตั้งแต่ปี่ 2562 – ปัจจุบัน มีสถิติในการให้บริการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นในทุกปี โดยปี 2566 มียอดให้บริการผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล 2,126 เคสเป็นผู้ป่วยสีแดง (ผู้ป่วยวิกฤต) จำนวน 2,000 เคส เป็นผู้ป่วยสีเหลือง 126 เคส ส่วนใหญ่รหัสในการรับแจ้งเหตุ อันดับ 1 CBD 19 ไม่รู้สึกตัว, อันดับ 2 CBD 5 หายใจไม่สะดวก, อันดับ 3 CBD 6 หัวใจหยุดเต้น, อันดับ 4 CBD 16 ชัก, อันดับ 5 CBD 17 ป่วยอ่อนเพลีย

ศูนย์กู้ชีพ ร่วมดำเนินโครงการติดตั้งเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจทั่วประเทศ 1200 ตัว ขณะเครื่องทยอยออกสู้พื้นที่สาธารณะ และทำการออกแบบ application AED กระตุกหัวใจ ที่ประกอบด้วย สื่อการสอนวิธีการใช้ AED, การค้นหา AED,  การค้นหาคนไปเอา AED ไปที่เกิดเหตุม ค้นหาคนมาช่วยช่วยกู้ชีพ ซึ่งทุกท่านสามารถ download application ไว้ในโทรศัพท์มือถือได้ทาง QR code

ด้าน Education & Training

เนื่องด้วยปัจจุบันมีผู้ป่วยมารับบริการในแผนกฉุกเฉินเพิ่มขึ้นในทุกปี ประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริบาลผู้ป่วย ตามมาตรฐานสากล ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงจัดงาน วิชาการด้านต่างๆ และงานสอนตั้งแต่นิสิตแพทย์ไปจนถึงแพทย์ประจำบ้าน ให้สอดคล้องกับพันธกิจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในด้านความเป็นเลิศทั้งทางวิชาการและการบริการ

EM residency program

โปรแกรมสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาการฝึกอบรมจะได้ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งในและนอกโรงพยาบาลรวมถึงได้ฝึกการทำหัตถการในการช่วยชีวิตต่างๆ ตลอดจนการศึกษาดูงานในสาขาย่อยที่สนใจ เช่น Prehospital care, Aviation, Toxicology, Hyper-Hypobaric และอื่น ๆ

แพทย์ประจำบ้านจะได้มีโอกาสทำงานวิจัยด้วยตนเองอย่างน้อย 1 เรื่อง ในเรื่องที่ตนเองสนใจโดยมีอาจารย์และทีมวิจัยของโรงพยาบาลเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด นอกเหนือจากนี้ในช่วงเวลา 3 ปี แพทย์ประจำบ้านสามารถเลือกใช้เวลาของการ Elective ไปศึกษาการทำงานในห้องฉุกเฉินที่ต่างประเทศได้ โดยเฉพาะในสาขาย่อยที่สนใจ

WINFOCUS training

โปรแกรม WINFOCUS (World Interactive Network Focused on Critical Ultrasound) เป็นโปรแกรมหลักของการทำ Ultrasound สำหรับผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งเป็นโปรแกรมสากล มีการฝึกอบรมอยู่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย อ.พญ.สุธาพร ล้ำเลิศกุล ได้เป็นผู้บุกเบิกและตัวแทน WINFOCUS เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Research project & Publication

เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดของผู้ป่วยวิกฤต และผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน การค้นคว้าวิจัยจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

Resident Conference

การประชุมแพทย์ประจำบ้าน จัดเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ แบ่งปัน และนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

Medical Students

นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 [Med students] จะได้มีโอกาสเข้ามาเรียนการตรวจผู้ป่วย และการทำงานในห้องฉุกเฉิน ในรายวิชา Ambulatory and Emergency Medicine ซึ่งวัตถุประสงค์ของฝึกทำงานในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้ได้แนวคิดของการรักษาผู้ป่วยวิกฤต การ approach ผู้ป่วยฉุกเฉิน การฝึกทำหัตถการพื้นฐาน และได้เรียนรู้ชีวิตความรู้สึกของผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน

นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 (Extern) จะได้มีโอกาสมาทำงานในห้องฉุกเฉิน 2 สัปดาห์ ในช่วง Internal Medicine และ ช่วงอยู่เวรของ Surgical และ Orthopedics วัตถุประสงค์การทำงานในปีสุดท้ายของการเรียนแพทย์ เพื่อให้สามารถให้การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินในทุกรูปแบบ ได้ฝึกทำหัตถการช่วยชีวิตที่จำเป็น เช่น การใส่ท่อช่วยหาย การใส่ ICD การทำ Ultrasound เป็นต้น ในระหว่างการทำงานจะต้องมีการ present case อย่างน้อย 1 ครั้ง กับอาจารย์แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน

อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ติดกับถนนราชดำริ ตรงข้ามสวนลุมพินี

เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดราชการ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (ER)
อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 649 4000 ต่อ 83058

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท SKS Building Maintenance Co., Ltd. มอบเครื่องพ่น และน้ำยาฆ่าเชื้อ

บริษัท SKS Building Maintenance Co., Ltd. มอบเครื่องพ่น และน้ำยาฆ่าเชื้อ STERAMIST Products (H202 based Mist and Fog) EPA-List N ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดติดเชื้อโควิด-19

งานประชุมวิชาการ และลงนามความร่วมมือสนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Chula-Endoscopy Short Course (CESCO) EUS ERCP series”

ถวายพระพรสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เปิดให้ประชาชนลงนามถวายพระพร ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ของทุกวัน

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์