โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายชีวเคมี

Department of Biochemistry

ให้คำปรึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวเคมี และอณูชีวโมเลกุล ระบบเมแทบอลิซึมและโภชนาการ

ภาควิชาชีวเคมี เริ่มต้นการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้นในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งในขณะนั้น การเรียนการสอนชีวเคมีดำเนินงานภายใต้ความรับผิดชอบของแผนกวิชาสรีรวิทยา จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้แยกภาควิชาชีวเคมีออกจากแผนกวิชาสรีรวิทยา โดยในช่วงเริ่มต้นนั้น มีอาจารย์ผู้บุกเบิกด้วยกันทั้งสิ้น 4 ท่าน คือ ศ.นพ.ประวุธ คุณเกษม ดำรงตำแหน่งหัวหน้า รศ.นพ.ช.เพิ่มสุข เพ็ชญไพศิษฎ์ พญ.พาณี ศิลปาจารย์ และ พญ.ประภา เลาหไพบูลย์ พร้อมทั้งบุคลากรทั้ง นางอรพิณ ฤทธิ์รณศักดิ์ เป็นพนักงานวิทยาศาสตร์ นายประทีป เชื้อหยก นายพนอม ละมาตร์ และนายจำรัส มณี เป็นเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการตามพันธกิจหลักครบทุกด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การบริหาร และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ภาควิชาชีวเคมีมีอาจารย์ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชามาแล้วทั้งสิ้น 11 ท่าน (12 วาระ) ดังนี้ 

1. ศ.นพ.ประวุธ คุณะเกษม

พ.ศ. 2508 – 2523

2. รศ.นพ.ช.เพิ่มสุข เพ็ชญไพศิษฎ์ 

พ.ศ. 2523 – 2529

3. รศ.พญ.ขนิษฐ บูรณศิริ

พ.ศ. 2529 – 2533

4. ศ.กิตติคุณ พญ.ธาดา สืบหลินวงศ์ 

พ.ศ. 2533 – 2537

5. ศ.ดร.จิระพันธ์ กรึงไกร 

พ.ศ. 2537 – 2540

6. รศ.ดร.วิไล อโนมะศิริ

พ.ศ. 2541 – 2545

7. ศ.ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์

พ.ศ. 2545 – 2549

8. ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ

พ.ศ. 2549 – 2555

9. ผศ.ดร.ธนัญญา ทองตัน

พ.ศ. 2555 – 2558

10. ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ

พ.ศ. 2559 – 2562

11. ศ.นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์

พ.ศ. 2562 – 2566

12. ศ.ดร.สัญชัย พยุงภร

พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ ทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม
  2. จัดการเรียนการสอนวิชาชีวเคมีและศาสตร์ที่เชื่อมโยง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติการ ให้นิสิตแพทย์ นิสิตบัณฑิตศึกษา นักศึกษาพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  3. ผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ มุ่งสู่มาตรฐานสากล
  4. ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะเพื่อพัฒนาสังคม ประเทศชาติ
  5. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

ฝ่ายชีวเคมีให้การสนับสนุนโดยให้คำปรึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวเคมี และอณูชีววิทยา ระบบเมแทบอลิซึมและโภชนาการ ในด้านการเรียนการสอน งานวิจัย และบริการวิชาการ

เจตจำนง

ภาควิชาชีวเคมีเป็นหน่วยงานวิชาการที่ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางวิชาการเพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภาคภูมิใจในภาควิชา

ภาระหน้าที่

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ และทักษะที่ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคม
  2. จัดการเรียนการสอนวิชาชีวเคมี และศาสตร์ที่เชื่อมโยง ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ให้นิสิตแพทย์ นิสิตบัณฑิตศึกษา นักศึกษาพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้ระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  3. ผลิตงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ มุ่งสู่มาตรฐานสากล
  4. ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายโอนองค์ความรู้สู่สาธารณะเพื่อพัฒนาสังคม และประเทศชาติ

การให้บริการของฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายชีวเคมีบริการให้คำปรึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ ชีวเคมี และอณูชีวโมเลกุล ระบบเมแทบอลิซึมและโภชนาการ

อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 7 ชั้น 8 และ ชั้น 11 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดให้บริการทุกจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายชีวเคมี  อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 11

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4482

 

เว็บไซต์หน่วยงาน

https://biochemistry.md.chula.ac.th/

 

Facebook

https://www.facebook.com/BiochemMedChula/

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เอเอ็มดี โมทีฟ จำกัด มอบหน้ากาก Face Shield และเจลแอลกอฮอล์

บริษัท เอเอ็มดี โมทีฟ จำกัด มอบหน้ากาก Face Shield และเจลแอลกอฮอล์ ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดติดเชื้อโควิด-19

บริษัท ไทยมาร์คอุตสาหกรรม จำกัด มอบเงินบริจาค

บริษัท ไทยมาร์คอุตสาหกรรม จำกัด มอบเงินบริจาค จำนวน 100,000 บาท เพื่อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

มอบเงินบริจาค เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์

มูลนิธิ แสง-ไซ้กี เหตระกูล มอบเงินบริจาค เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์