โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ

Accounting and Budget Department

จัดทำแผนงบประมาณ ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่าย ปิดบัญชีและจัดทำรายงานงบการเงินได้อย่างถูกต้อง

ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปัจจุบันมีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 13 มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนงบประมาณ ตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายเงินให้มีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทันกำหนดเวลา ตรงตามกฎระเบียบฯนโยบายของสภากาชาดไทย ปิดบัญชีและจัดทำรายงานงบการเงินได้อย่างถูกต้องตรงตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อโรงพยาบาลฯในการบริหารทรัพยากรให้ใช้อย่างคุ้มค่าและมีประโยชน์ เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลฯ นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบฯ
การเบิก-จ่ายเงิน งานสินทรัพย์ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกด้วย

พันธกิจ 

มุ่งมั่นเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องแม่นยำในการบริหารงานของโรงพยาบาลฯ

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. เพื่อสนับสนุนให้กระบวนการจัดทำงบประมาณ และการบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
  2. เพื่อให้กระบวนการเบิกจ่ายเงินมีความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทันกำหนดเวลา และตรงตามกฎระเบียบฯ นโยบายของสภากาชาดไทย
  3. จัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง แม่นยำ ภายในระยะเวลาที่กำหนดและสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
  4. จัดทำรายงานการวิเคราะห์ทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการวางแผน ประเมินผลการดำเนินงาน และประกอบการตัดสินใจในมุมมองต่าง ๆ ของผู้บริหาร

โครงสร้างฝ่ายบัญชีและงบประมาณ แบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น 6 หน่วยงาน ได้แก่

ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility)

1. งานบัญชี

  • ตรวจสอบเอกสารการนำส่งเงินรายได้ทุกประเภทของ รพ. จากฝ่ายการเงิน ที่นำส่งสำนักงานการคลัง โดยตรวจรหัสบัญชี , รหัสแหล่งเงิน ทุกประเภท ให้ถูกต้องและยืนยันบันทึกบัญชีในระบบ FMIS
  • บันทึกบัญชีลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาล จากระบบ HIS ทุกต้นสังกัดในระบบ FMIS พร้อมจัดทำทะเบียนคุมยอดลูกหนี้ค้างชำระตามแต่ละกลุ่ม ทุกสิ้นปี มีการคำนวณและสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  • ตรวจสอบและบันทึกบัญชีเงินบริจาคที่ผ่านการรับแทนโดยหน่วยงานอื่น เช่น สำนักงานจัดหารายได้
  • ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและคู่บัญชี จากเอกสารหน้างบใบสำคัญทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ และยืนยันบัญชีในระบบ FMIS (เป็นการตั้งเจ้าหนี้) ยกเว้น ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ต่าง ๆ พร้อมจัดทำทะเบียนคุมเจ้าหนี้คงค้าง
  • บันทึกบัญชีการโอนเงินระหว่างกันภายในและภายนอกสำนักงาน ผ่านลูกหนี้ระหว่างกัน พร้อมสรุปยอดลูกหนี้ระหว่างกันคงเหลือเพื่อกระทบยอดกับต่างสำนักงาน ทุกแหล่งเงิน
  • บันทึกเปิดสิทธิ์ผู้มีอุปการคุณในระบบ HIS กรณีที่ยังไม่เคยมีการเปิดสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นส่วนลดค่ารักษาพยาบาล
  • ตรวจสอบและบันทึกบัญชีการตั้งลูกหนี้เงินยืมทดรองจ่ายในระบบ FMIS ทั้งใบฟ้าและใบเหลือง และจัดทำทะเบียนคุมประจำเดือน 
  • ตรวจสอบและบันทึกบัญชี รายรับ-รายจ่าย ของกองทุนตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ประกอบด้วย กองทุนทั่วไป กองทุนเฉพาะ และดอกผลกองทุน ให้ตรงกับบัญชีแยกประเภท และทะเบียนคุม
  • ควบคุมเงินประกันระยะสั้น ส่งให้หน่วยงานจัดซื้อ/จัดจ้าง บันทึกเข้าทะเบียน ในระบบ FMIS พร้อมทั้งบันทึกตัดจ่ายการขอคืนเงินค้ำประกันในทะเบียน ให้ตรงกับบัญชีแยกประเภททั่วไป (GL)
  • ตรวจสอบงบการเงินภาพรวม และแหล่งเงินย่อย พร้อมกระทบยอดให้ถูกต้องก่อนปิดงบการเงิน
  • จัดทำข้อมูลรายรับ-รายจ่าย (เกณฑ์เงินสด) ของเงินฝากสภากาชาดไทยทุกแหล่งเงิน
  • ตรวจสอบทะเบียนกับบัญชีแยกประเภทของแต่ละงานให้ถูกต้องตรงกัน และนำส่งสำนักงานการคลังทุกเดือน (คปร.) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

2. งานเงินงบประมาณ

  • จัดทำงบประมาณประจำปี ขออนุมัติเงินสนับสนุนจากรัฐบาล
  • ควบคุมและติดตามการใช้งบประมาณ
  • จัดทำรายงาจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินงบประมาณต่อสำนักงานการคลังและสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
  • ตรวจสอบและจัดทำใบยืมเงินรองจ่ายและงานการเบิกจ่ายการใช้หนี้เงินยืมรองจ่าย
  • งานทำรายงานการกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี
  • งานบันทึกข้อมูลแหล่งเงิน แยกประเภทงบประมาณและระบุรหัสบัญชีตามใบจะดำเนินการจัดซื้อ/จ้าง (PR) และใบขออนุมัติซื้อ/จ้าง (PA) ในระบบ FMIS
  • งานจัดทำงบใบสำคัญอนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณและใบสรุปแจ้งจ่าย
  • เร่งรัดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตรวจสอบ/ควบคุมการใช้งบกลาง สภากาชาดไทย งบสนับสนุนงานวิจัย และเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล

3. งานเงินนอกงบประมาณ

  • จัดทำงบประมาณของเงินทุนหมุนเวียน ควบคุมบัญชีรายรับ-รายจ่าย เงินนอกงบประมาณ
  • ควบคุมดูแลเงินบริจาคเงินฝาก เงินทุนหมุนเวียนและเงินกองทุนของโรงพยาบาล
  • วิเคราะห์และจัดสรรแหล่งเงินนอกงบประมาณ สำหรับงานจัดซื้อ/จัดจ้างของโรงพยาบาล
  • บันทึกข้อมูลการตัดจ่ายเงินนอกงบประมาณในระบบ FMIS
  • จัดทำงบใบสำคัญ อนมัติการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณและใบสรุปแจ้งจ่าย
  • บันทึกข้อมูลการยืมเงินรองจ่าย (ใบยืมเงินสีฟ้าและใบยืมเงินสีเหลืองในระบบ FMIS) และงานการเบิกจ่ายการใช้หนี้เงินยืมรองจ่าย
  • จัดทำเอกสารการขออนุมัติจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ด้วยงบค่าเสื่อม นำเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  • ขออนุมัติเปิด/ปิด และเปลี่ยนแปลงชื่อแหล่งเงินนอกงบประมาณ
  • งานบันทึกขอโอนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์เสนอท่านเหรัญญิกสภากาชาดไทย
  • ปรับปรุงรายการเพิ่มลดงบประมาณรายรับที่บันทึกผิดพลาด
  • เปิด-ปิด และเปลี่ยนผู้มีอำนาจลงนามบัญชีธนาคารของฝ่าย และส่วนกลาง รพ.

4. งานใบสำคัญจ่าย

  • ตรวจสอบเอกสารเบิก-จ่ายเงินทุกแหล่งเงิน (งบประมาณ/นอกงบประมาณ)
  • การตรวจสอบเอกสารการโอนเงินทุกแหล่งเงิน (เงินงบประมาณ/เงินนอกงบประมาณ) ภายในสำนักงานและต่างสำนักงาน
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับระเบียบฯ การเบิก-จ่าย เงินต่าง ๆ
  • งานตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบเสร็จรับเงิน คูปองต่าง ๆ และจัดทำทะเบียนคุมก่อนจ่ายให้หน่วยงานเก็บเงินตรวจสอบสำเนาใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้ว และจัดทำทะเบียนคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน
  • ตรวจสอบสำเนาใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้ว และจัดทำทะเบียนคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน
  • รับคำร้องและค้นหาใบเสร็จรับเงินที่สูญหาย
  • งานสารบรรณ และทะเบียนประวัติของฝ่ายบัญชีและงบประมาณ

5. งานบัญชีบริหาร

  • ควบคุมกระบวนการปิดบัญชีสิ้นงวด (Month-End-Process) ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นรายเดือน รายไตรมาสและประจำปี เพื่อให้ข้อมูลในงบการเงินมีความครบถ้วนถูกต้องและเป็นไปตามกำหนดเวลา
  • จัดทำรายงานงบการเงินของโรงพยาบาลให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีที่อ้างอิงและเป็นไปตามนโยบายการบัญชีของสภากาชาดไทย
  • จัดทำรายงานทางการเงินเพื่อการบริหารจัดการ (Managerial Report) รวมทั้งจัดทำบทวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน/ฐานะทางการเงิน เพื่อให้ผู้บริหารและคณะกรรมการโรงพยาบาลใช้ในการวางแผน ควบคุม และประเมินผลการดำเนินงานและการตัดสินใจ
  • จัดทำรายงานทางการเงินและข้อมูลทางการเงินแก่หน่วยงานอื่น ๆ ของโรงพยาบาล เช่น งบรายได้รายจ่ายของเงินทุนหมุนเวียนต่าง ๆ คลินิกพิเศษ ฯลฯ เพื่อให้หน่วยงานได้ใช้ประโยชน์ในการบริหารและการตัดสินใจอย่างเหมาะสมและทันเวลา
  • จัดทำรายงาน การจัดสรร รายรับเหนือรายจ่าย ของเงินทุนหมุนเวียนและคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ (คลินิกพิเศษผู้ป่วยนอก,คลินิกระบบบริการพิเศษ) ทุกสิ้นปี
  • วิเคราะห์ต้นทุนสำหรับผลการดำเนินงานในแต่ละส่วนงาน เช่น ฝ่ายโภชนวิทยา และอื่นๆ
  • จัดทำข้อมูลทางบัญชีเพื่อให้ผู้บริหารนำเสนอ ในรูปแบบ Power Point

6. งานบัญชีสินทรัพย์และโครงการ

  • ตรวจสอบการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ ตั้งแต่การได้มา การจำหน่าย จ่ายโอน การให้ยืม การคำนวณค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย
  • ตรวจสอบการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ (Stock)
  • ตรวจสอบการบันทึกบัญชี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซมบำรุงรักษาครุภัณฑ์/อาคาร และค่าดูแลบำรุงรักษา (MA) ด้าน Hardware / Software / Network
  • ตรวจสอบการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ระหว่างทำ และการกลับรายการขึ้นทะเบียนสินทรัพย์ให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ถูกต้อง เพื่อให้การคำนวณค่าเสื่อมราคาในรายงานทางการเงินมีความถูกต้อง
  • กำกับดูแลกระบวนการตรวจนับสินทรัพย์ และพัสดุคงเหลือของโรงพยาบาล เพื่อให้มีความถูกต้องครบถ้วนตามความมีอยู่จริง
  • ควบคุมกระบวนการปิดบัญชีงานสินทรัพย์สิ้นงวด ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา
  • ประมวลผลและจัดทำรายงาน เพื่อเป็นรายละเอียดประกอบงบการเงิน และเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์งบการเงิน
  • จัดทำข้อมูลเพื่อทำประกันภัยสินทรัพย์

อัตลักษณ์ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ

เราจะรับ ผิดชอบ ภารกิจ

ตามเข็มทิศ เป้ามุ่ง สู่จุดหมาย

จัดลำดับ สำคัญตาม นโยบาย

คิดค้นคว้า  หลากหลาย  ให้ทันการณ์

ทำงานด้วย มีจิต สาธารณะ

รับใช้ประ ชาชน ทุกชนชั้น

เอื้ออาทร  มีให้ กันและกัน

เห็นคุณค่า ความสำคัญ เพื่อนร่วมงาน

สิ่งสำคัญ ในการถือ ปฏิบัติ

ต้องชื่อสัตย์ สุจริต  เป็นนิสัย

ทำตามแผน ยึดระเบียบ มีวินัย

อย่าได้ใช้ หาประโยชน์ จากการงาน

เราจะร่วม มือทำตาม พันธกิจ

พลิกวิกฤติ ต่างๆ ให้สดใส

ทั้งผู้ให้ ผู้รับ อบอุ่นใจ

โรงพยาบาลฯ ภายใต้ คุณธรรม

อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 13

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายบัญชีและงบประมาณ
อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 13

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

งานบัญชี

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3259, 4679

E-mail : acc@chulahospital.org

 

งานเงินงบประมาณ 

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3295, 3431

E-mail : budget.kcmh@chulahospital.org

 

งานเงินนอกงบประมาณ

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3451, 3450

E-mail : offbudgetary@chulahospital.org

 

งานใบสำคัญจ่าย

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 4403, 3429 – 30

E-mail : paycheck@chulahospital.org

 

งานบัญชีบริหาร

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3259, 3068

E-mail : acc.mg@chulahospital.org

 

งานบัญชีสินทรัพย์และโครงการ

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3064

E-mail : assetchula@chulahospital.org

 

งานสารบรรณ

เบอร์โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ 3261

E-mail : sarabun.acc@chulahospital.org

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดสถานที่พักพิง Isolation Unit

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดสถานที่พักพิง Isolation Unit พร้อมทีมแพทย์ พยาบาล ติดตามผลการรักษาผู้ที่มีอาการดีขึ้นจากการติดเชื้อโควิท-19

บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด มอบผลิตภัณฑ์ ดีลักซ์ โปรตีนบาร์

บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด มอบผลิตภัณฑ์ ดีลักซ์ โปรตีนบาร์ จำนวน 100 กล่อง เพื่อบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ผู้มีจิตศรัทธา มอบเงินบริจาค

ผู้มีจิตศรัทธา มอบเงินบริจาค เพื่อศูนย์บูรณาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์