เกี่ยวกับ Heart Failure and Transplant Cardiology
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเกิดจากสภาวะ ที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีอาการ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไม่สามารถนอนราบได้ ขาบวม ท้องบวม และน้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจต้องใช้การรักษาที่สูงขึ้นกว่าการรักษาด้วยยา ได้แก่ การรักษาด้วยการฝังเครื่องประสานการทำงานของหัวใจ (Cardiac implantable electronic devices) หรือ การผ่าตัดใส่ เครื่องพยุงหัวใจ (mechanical circulatory support) หรือ การปลูกถ่ายหัวใจ (heart transplant) เป็นต้น
ผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายหัวใจ เป็นการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวครบวงจรให้ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด) และประชาชน รวมถึง การจัดงานประชุมทางวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ เป็นประจำทุกปีในระดับชาติ และนานาชาติ (heart failure preceptorship program)
ผลิตงานวิจัย เกี่ยวกับ Heart failure และ Transplant Cardiology สำหรับสังคมไทยและระดับนานาชาติ
บุคลากร
แพทย์เฉพาะทางอนุสาขา heart failure and transplant cardiology 4 ท่าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด 1 ท่าน พยาบาล 5 ท่าน เภสัชกร 5 ท่าน นักกำหนดอาหาร (dietician) 2 ท่าน นักวิทยาศาสตร์ 1 ท่าน ผู้ช่วยพยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่พยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 ท่าน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ท่าน และหน่วยงานภายนอกคลินิกฯ ซึ่งประสานงาน ปรึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ นักกายภาพ (Cardiac rehabilitation) in collaboration ศัลยศาสตร์ หัวใจและทรวงอก และอนุสาอื่นๆ ของอายุรศาสตร์หัวใจ รวมถึงแผนกอื่น ๆ