โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

Diagnostic Radiology Division

มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำทางการพยาบาลในระดับสากล

พันธกิจ

การผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทาง ให้มีความรู้ความสามารถด้านรังสีวิทยาและวิทยาการที่เกี่ยวข้องเปี่ยมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สามารถปฏิบัติงาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมถึงทำการวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการและให้บริการทางวิชาการ ตลอดจนการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  • ให้บริการตรวจทางรังสีวินิจฉัย ทั้งการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป, อัลตราซาวนด์, fluoroscopy, เอกซเรย์เต้านม, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ MRI
  • ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยรังสีร่วมรักษา

หน่วยเอกซเรย์ผู้ป่วยนอก

บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป, fluoroscopy และ อัลตราซาวนด์ ให้แก่ผู้ป่วยนอก ณ อาคาร ภปร ชั้น 6

บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป, fluoroscopy และ อัลตราซาวนด์ ผู้ป่วยเด็ก ณ อาคาร สก ชั้น 4

บริการตรวจเอกซเรย์และอัลตราซาวนด์เต้านม รวมถึงการเจาะชิ้นเนื้อเต้านม ณ อาคาร สธ ชั้น 3

 

หน่วยรังสีวินิจฉัยขั้นสูง

บริการตรวจ CT scan และ MRI ณ อาคาร นวัตบริบาล ชั้น 1 และ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 ให้บริการแก่ผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน ทั้งในเวลาราชการ และ นอกเวลาราชการ

บริการตรวจ MRI นอกเวลาราชการ ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 7

บริการตรวจ CT scan ให้แก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1

 

หน่วยเอกซเรย์ผู้ป่วยใน
บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไปผู้ป่วยใน เอกซเรย์เคลื่อนที่ (portable)

บริการตรวจ อัลตราซาวนด์ผู้ป่วยใน และ ตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือด (Color Doppler ultrasound) ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2

บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไปให้แก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 1

บริการตรวจเอกซเรย์ทั่วไป, fluoroscopy และ อัลตราซาวนด์ ให้แก่ผู้ป่วยเด็ก ณ อาคาร สก ชั้น 4

 

หน่วยรังสีร่วมรักษา

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยรังสีร่วมรักษา ทั้งระบบประสาทและลำตัว ณ อาคาร ภูมิสิริมังคลา นุสรณ์ ชั้น 7

 

จุดบริการรับและลงระบบข้อมูลภาพทางรังสีวิทยา

บริการลงข้อมูลภาพการตรวจทางรังสีวิทยาจากโรงพยาบาลอื่น และบริการขอนำข้อมูลภาพการตรวจทางรังสีวิทยาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ออกไปรักษาต่อโรงพยาบาลต้นสังกัด ณ อาคาร ภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 2 และอาคาร ภปร. ชั้น G

 

หน่วยงานประกันคุณภาพและฟิสิกส์การแพทย์ ด้านรังสีวินิจฉัย

ดำเนินการด้านประกันคุณภาพของเครื่องมือการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัย รวมทั้งการให้ความรู้และคำแนะนำด้านความปลอดภัยจากการใช้รังสีในทางการแพทย์ทั้งแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำการ ณ อาคาร รัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 8

 

งานธุรการบริหารงานทั่วไป

งานด้านเอกสาร สารบัญ ติดต่อประสานงานหน่วยงาน ภายในและภายนอก หน่วยงาน ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 7 และ ชั้น 8

 

การตรวจอัลตราซาวนด์และเอกซเรย์ทั่วไป

เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 7.30-16.00 น

คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 16.30-20.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดบริการเวลา 7.30-12.00 น.

** หมายเหตุ หยุดให้บริการอ้างอิงตามประกาศของสำนักงานคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ

 

การตรวจเอกซเรย์เต้านม 

เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 8.00-16.00 น.

คลินิกนอกเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 16.30-20.00 น. – วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดบริการเวลา 8.00-16.00 น.

 

การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 8.00-16.00 น.

คลินิกนอกเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 16.00-20.00 น. -วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดบริการเวลา 8.00-16.00 น.

 

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-ศุกร์ เปิดบริการ เวลา 7.30-16.00 น.

ชื่อคลินิก

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

อาคาร ภปร.ชั้น 4 เบอร์โทรศัพท์ 02-2565369-70

อาคาร นวัตบริบาล เบอร์โทรศัพท์ 02-256-4773, 02-256-4778

อาคาร ภูมิสิริฯ ชั้น 2 เบอร์โทรศัพท์ 02-256-4000 ต่อ 80201,80203,80204

อาคาร ส.ธ. ชั้น 3 เบอร์โทรศัพท์ 02-256-4000 ต่อ 70307, 70308

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

www.http://radiology.md.chula.ac.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

Chula Cov19 Vaccine

ChulaCov19 เป็นวัคซีน Messenger RNA รุ่นแรกที่คิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหลายภาคส่วน

กิจกรรม วันนักกำหนดอาหารเอเชีย ประจำปี 2566

ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงาน Asian Dietitian’s Day 2023 ประจำปี 2566 “วันนักกำหนดอาหารเอเชีย ประจำปี 2566” ภายใต้หัวข้อ “สูงวัยยุคใหม่ ใสใจโภชนการ”

เมื่อน้ำในหูไม่เท่ากัน

“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere's disease) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่ก็พบว่าอาการของโรคเมเนียร์

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์