โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

วัณโรคแฝง เชื้อซ่อนแอบในร่างกาย อันตรายเมื่อภูมิตก

วัณโรคระยะแฝง ต่างจากวัณโรคอย่างไร

วัณโรคระยะแฝง คือ ผู้ที่ได้รับเชื้อ และติดเชื้อวัณโรคแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อสู้กับเชื้อ และยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ และไม่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

แต่ผู้ที่มีเชื้อวัณโรคระยะแฝงในร่างกาย หากในอนาคตป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ติดเชื้อเอชไอวี ต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกันร่างกายอาจไม่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อวัณโรคได้ ทำให้ป่วยเป็นวัณโรคในที่สุด

รู้ได้อย่างไร..ใครเป็นวัณโรคแฝง
วิธีวินิจฉัยวัณโรคแฝง มี 2 วิธี

  1. การทดสอบทางผิวหนังด้วยทุเบอร์คุลิน (Tuberculin skin test) ซึ่งทำได้โดยการฉีดโปรตีนสกัดจากเชื้อวัณโรค เข้าในชั้นผิวหนัง บริเวณท้องแขน หลังจากนั้น 48 ถึง 72 ชั่วโมง จะทำการวัดขนาดรอยนูนบริเวณที่ฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง
  2. การทดสอบ Interferon-gamma release assays (IGRAs) คือ การตรวจเลือดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรค โดยวัดปริมาณ Interferon-gamma (IFN-γ) เมื่อมีการติดเชื้อวัณโรคขึ้นในร่างกาย

ข้อมูลโดย : รศ.นพ.กำพล สุวรรณพิมลกุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
ข้อมูล ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2567

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์