โรคหัด ติดต่อได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ถึง 6 เท่า พบบ่อยในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีน้ำหนักน้อย ขาดอาหาร โดยเพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี จะต้องดูแลเป็นพิเศษ
อาการ
มีไข้สูง ตาแดง และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจมาก เช่น หวัด ไออย่างมาก วันที่ 2- 4 จะห็นมีจุดขาวเล็ก ๆ ขึ้นในปาก ขอบแดงเรียกว่า Koplik’s spots เมื่อไข้ครบ 4 วัน เริ่มมีผื่นขึ้นจากบนลงล่าง คือ จากบริเวณชายผมลงมา ที่บริเวณหน้า ลำตัวสู่ปลายเท้าเมื่อผื่นขึ้นถึงปลายเท้า ไข้จะเริ่มลดลง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ผื่นจะกลายเป็นสีคล้ำดำและคงอยู่ 2-3 สัปดาห์ ในรายที่ผื่นถึงปลายเท้าแล้ว ไข้ไม่ลง แสดงว่ามีโรคแทรกซ้อน คือ ปอดบวม อาการอาจรุนแรงถึงภาวะหายใจล้มเหลวได้ โรคแทรกซ้อนอื่น เช่น หูชั้นกลางอักเสบ สมองอักเสบ ก็อาจพบได้
การป้องกันที่ดีสุด คือ การให้วัคซีนป้องกันหัด ปัจจุบันอยู่ในรูปวัดซีนรวมหัด หัดเยอรมัน และคางทูม ทุกคนต้องได้อย่างน้อย 2 ครั้ง
ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2562
ที่มา : ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ