โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

เวชพันธุศาสตร์ทั่วไป-มะเร็งพันธุศาสตร์

Medical Genetics and Precision Medicine

มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำทางการพยาบาลในระดับสากล

ภาระหน้าที่

  1. พัฒนาการบริการทางการแพทย์แม่นยำให้ได้มาตรฐานและทันสมัยโดยครอบคลุมทั้งด้านการตรวจทางพันธุศาสตร์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ
  2. การดูแลรักษาที่เฉพาะบุคคลหรือตรงเหตุ การให้คำปรึกษาด้านพันธุศาสตร์ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างครบวงจรด้วยวิทยาการทางการแพทย์ขั้นสูง
  3. จัดตั้ง Core Facility สำหรับเทคโนโลยีด้านจีโนมเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาสู่การนำมาใช้ในเวชปฏิบัติทั้งด้านการวินิจฉัย การดูแลรักษาผู้ป่วย และป้องกันโรคหรือภาวะที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม
  4. ให้การฝึกอบรม และพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา และหลักสูตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สามารถเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมระดับชาติ และนานาชาติ
  5. พัฒนางานวิจัยด้านเวชพันธุศาสตร์ ผลิตผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและชุมชน
  6. สร้างเครือข่ายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการวินิจฉัยการรักษา การป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นต้นแบบการบริบาลผู้ป่วย

อาคาร ภปร ชั้น 13

วันอังคาร เวลา 09.00 – 12.00 น.

ชื่อคลินิก

เวชพันธุศาสตร์ทั่วไป-มะเร็งพันธุศาสตร์

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 3354 (สำนักงาน)

ผู้สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัย

  • ผู้ป่วยเด็ก (อายุ 0-15 ปี) ติดต่อตรวจผ่านฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ และปรึกษาต่อ
  • ผู้ป่วยผู้ใหญ่ (อายุ 15 ปี ขึ้นไป)
    • ติดต่อผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์ คุณจันทร์จิรา 091-745-9225 วัน จันทร์ พฤหัส ศุกร์ เวลาราชการ
    • ผู้ป่วยที่ต้องการตรวจคลินิกนอกเวลา (อังคารเย็น) กรุณาติดต่อทำนัดผ่านระบบคลินิกนอกเวลาราชการ โทร. 02 256 5193-4 เพิ่อทำนัด อาจารย์นายแพทย์ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

 

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

http://medicalgenomics.md.chula.ac.th

https://www.facebook.com/Genomics.md.chula

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมกิจกรรม “M Care สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย”

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)  ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันการแพทย์ต่างๆ จัดกิจกรรม “M Care สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย” เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพสำหรับผู้โดยสาร และประชาชนในพื้นที่

โรค NCDs คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุด

โรค NCDs (Non-communicable diseases)  คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่มีการแพร่กระจายจากคนสู่คน แต่โรค NCDs มีสาเหตุจากพฤติกรรมเป็นหลัก ซึ่งคร่าชีวิตคนไทยมากกว่าสาเหตุอื่นๆ

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา2019

แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการกระจายวัคซีนไปยังสถานที่ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามในวงการการแพทย์ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์