“การนอนกัดฟัน” คือ การทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวซ้ำๆ ขณะหลับ เป็นผลทำให้มีการบดหรือขบเน้นฟันขณะหลับ ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตนเองมีการนอนกัดฟัน
พบได้บ่อยในวัยเด็ก ร้อยละ 15-40
และในวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 8-10
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการนอนกัดฟันที่พบบ่อย
- มีโรคความผิดปกติจากการหลับอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ภาวะนอนละเมอ
- การดื่มสุราหรือกาแฟ การสูบบุหรี่
- ภาวะเครียดและวิตกกังวล
- โรคทางระบบประสาท
- ประวัติในครอบครัวมีการนอนกัดฟัน
อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์
- ปวดขากรรไกร
- ปวดศีรษะ
- เสียวฟัน
- ฟันสึก ฟันโยก
- มีแผลในปาก หรือกระพุ้งแก้ม
- มีอาการนอนละเมอร่วมด้วย
- คนใกล้ตัวบอกว่านอนกัดฟัน
ขั้นตอนวินิจฉัย และวิธีการรักษา
- พบแพทย์ หรือทันตแพทย์ เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกาย
- แพทย์พิจารณาส่งตรวจการนอนหลับ (polysomnography) หรือ sleep test หากสงสัยว่ามีโรคความผิดปกติจากการหลับอื่น ๆร่วมด้วย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ภาวะนอนละเมอ เป็นต้น
- การรักษา: การมีสุขอนามัยที่ดีในการนอน การใส่เฝือกสบฟัน การรักษาด้วยยา เป็นต้น
ข้อมูลโดย อ.พญ.บุษราคัม ชัยทัศนีย์
ศูนย์นิทราเวช
ข้อมูล ณ วันที่ : 27 มีนาคม 2567