“อาการบ้านหมุน” หรืออาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งกับสมาชิก ในครอบครัวของผู้อ่านหลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ รวมไปถึงญาติผู้ใหญ่ในวัยสูงอายุ สําหรับสาเหตุ ของอาการบ้านหมุนนั้น หลายท่านทราบแล้วว่าตนเองเป็นโรค “น้ําในหูไม่เท่ากัน แต่ก็ยังมี อีกหลายท่านที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัย จึงขออาสา พามาพูดคุยกับ ศ.พญ.เสาวรส ภทรภักดิ์ หัวหน้าฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่จะมาบอกเล่าให้เราเข้าใจโรคนี้ รวมถึงอัพเดทเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พร้อมวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
“โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปของโรคเมเนียร์ (Meniere’s disease) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ แต่ก็พบว่าอาการของโรคเมเนียร์ เป็นผลมาจากความผิดปกติ ของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน (Endolymp) นั้นคือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 30-50 ปี โดยมักพบบ่อยขึ้น เมื่อสูงอายุสําหรับอัตราการเกิดโรคในผู้ชายและผู้หญิงจะมีจํานวนใกล้เคียงกัน จากสถิติผู้ป่วยของคลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยโรคเมเนียร์มากเป็นอันดับ 2 รองจากผู้ป่วยที่มี ภาวะหินปูนหูชันในเคลื่อน ทั้งนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความผิดปกติของน้ําในหู ข้างใดข้างหนึ่ง มีผู้ป่วยจํานวนไม่มากนักที่จะเป็นโรค เมเนียร์ของหูทั้งสองข้าง (ประมาณร้อยละ 15 ของจํานวนผู้ป่วยทั้งหมด) |
อาการหลักที่เป็นปัญหา และบั่นทอนคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ | คือ อาการเวียนศีรษะอย่างรุนแรง และมีความรู้สึกบ้านหมุนร่วมด้วย บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับ การสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาจทําให้ล้มได้ง่าย สําหรับอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ ภาวะการได้ยินลดลง อาการเสียง รบกวนในหู และอาการหูอื้อ อาการเหล่านี้มักพบในช่วงระยะแรก ของโรคซึ่งเกิดขึ้นแบบชั่วคราว แต่หากปล่อยให้โรคทวีความรุนแรงขึ้น ก็จะส่งผลให้สมรรถภาพ การได้ยินเสื่อมลง สําหรับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้อาการของโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน มีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่ อาหารรสเค็มจัด ซึ่งมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง จะส่งผลให้แรงดันน้ําในหูมากขึ้น อีกทั้ง เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีปริมาณคาเฟอีนสูง รวมไปถึงความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยให้เกิดอาการมากขึ้น |
ศ.พญ.เสาวรส กล่าวถึงการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่มีความผิด ปกติของน้ําในหูชั้นในว่า แพทย์จะตรวจดูระบบสมดุลของร่างกาย ซึ่ง เป็นปัจจัยที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของน้ําในหูชั้นใน เริ่มต้นจากการ ตรวจร่างกาย, ตรวจการได้ยิน (Audiometry) ตรวจประสาทการทรงตัว ผ่านการเคลื่อนไหวของลูกตาด้วยการใช้ Videonystagmography (VNG)การใช้ Rotatory Chair Test โดยให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้หมุน เพื่อตรวจการทํางานของหูชั้นในจากการเคลื่อนไหวของลูกตา อีกทั้ง การตรวจวัดการทรงตัวด้วยเครื่อง Posturography และการตรวจแรงดันของน้ําในหูชั้นใน จากการวัดคลื่นหูชั้นใน (SP / AP Ratio) ด้วย Electrocochleography Test (ECOG)
สําหรับวิธีการรักษาโรคเมเนียร์ หรือโรคน้ําในหูไม่เท่ากัน ศ.พญ.เสาวรส เล่าให้ฟังว่า การรักษาโรคนี้จะเริ่มจาก การรักษาตามอาการ ลดปัจจัยเสี่ยงตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และการใช้ยาซึ่งเป็นการรักษาโรค ที่เกิดขึ้นระยะแรก สําหรับผู้ป่วยในระยะที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น ก็จะมีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด (Endolymphatic Sac Surgery) 1 เพื่อระบายน้ําในหูชั้นใน ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือ สามารถควบคุม อาการเวียนศีรษะได้พร้อมกับการรักษาระดับการได้ยินได้ดีเช่นเดิม แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ด้วยวิธีนี้ และการฉีดยาเข้าหูชั้นในผ่านทางแก้วหู (Intratympanic Injections) เพื่อควบคุมแรงดันน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ในปัจจุบัน ทําได้ง่าย ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี และได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็อาจทําให้การได้ยิน เสื่อมลงจากเดิมบ้าง ซึ่งแพทย์ก็จะต้องพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม ให้กับผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการต่างกัน ในแต่ละรายนั่นเอง
สําหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัย | สําหรับผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่มีความละเอียดแม่นยําด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มี ประสิทธิภาพสูง พร้อมรับคําปรึกษาและการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถเข้ารับบริการได้ทุกวัน ในเวลาราชการ ที่คลินิกหู คอ จมูก ชั้น 10 อาคาร ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (สําหรับคลินิกเฉพาะทางด้านหู จะเปิดให้บริการทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ในเวลาราชการ) |