เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง พบบ่อยที่มือและเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กคล้ายกระเนื้อหรือตาปลา
การรักษา
- การแต้มยา หรือพลาสเตอร์ยาเมื่อมีอาการน้อย
- การพ่นด้วยสเปรย์เย็นจัด เป็นวิธีที่แพทย์ใช้บ่อย
- การจี้ด้วยไฟฟ้า
- การจี้ด้วยเลเซอร์
- การใช้วัคซีนฉีดเข้าที่ตัวเม็ดหูดหรือใต้หูด สำหรับหูดชนิดที่รักษายาก
หากเป็นหูดควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษา หลีกเลี่ยงการแกะ เกา
หรือทำให้ผิวบริเวณโดยรอบถลอก เพราะอาจทำให้หูดขยายวงกว้างขึ้น
ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564
ที่มา : ศ. ดร. นพ.ประวิตร อัศวานนท์
หน่วยผิวหนัง ฝ่ายอายุรศาสตร์