โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

“ยามุ่งเป้า” รักษาโรคมะเร็ง

ขั้นตอนการรักษามะเร็งด้วยยามุ่งเป้า

  1. วินิจฉัยโรค
  2. จัดระยะโรคมะเร็ง
  3. ตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เพื่อหาโมเลกุลสำคัญในการลุกลาม หรือแพร่กระจายของมะเร็ง
  4. วางแผนการรักษา

ยามุ่งเป้า แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. ยารับประทาน ส่วนใหญ่เป็นยาโมเลกุลขนาดเล็ก สามารถเข้าไปยับยั้งความผิดปกติระดับยีนหรือโปรตีนของเซลล์มะเร็งได้
  2. ยาฉีดโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นยาภูมิคุ้มกันต่อต้านโมเลกุลที่อยู่นอกเซลล์ เช่น โปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ เป็นต้น

ข้อจำกัดของยามุ่งเป้า

ยามุ่งเป้า เป็นยาที่ได้ผลเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพซึ่งน่าจะตอบสนองต่อยาเท่านั้นนอกจากนี้ ยายังมีราคาค่อนข้างสูง ในอนาคตจึงมีแนวทางในการพัฒนายาให้รักษามะเร็งได้มากชนิดขึ้นและราคาถูกลง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้มากขึ้น

ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564
ที่มา : ผศ. นพ.สืบพงศ์ ธนสารวิมล
สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์