- ฤดูฝนเป็นช่วงการวางไข่ของคางคก ซึ่งมักมีรายงานการเสียชีวิตจากการกินคางคกทุกปี เนื่องจากในตัวคางคกมีต่อมน้ำเมือก หรือยางคางคกที่มีพิษ
- ยางคางคกมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง และยังประกอบด้วยสารชีวพิษประเภn digitaloids ที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของหัวใจและระบบประสาทอย่างมาก
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับพิษจากการรับประทานหนัง เลือด เครื่องใน หรือไข่ของคางคก ซึ่งมักเกิดจากความไม่ชำนาญในการชำแหละ ทั้งนี้ เนื่องจากพิษคางคุกทนต่อความร้อนการทำให้สุกจึงไม่ทำให้พิษหายไป
อาการ
*มักเกิดขึ้นหลังรับประทานในหลักชั่วโมงความรุนแรงขึ้นกับประมาณพิษที่ได้รับ
- น้ำลายมาก
- คลื่นใส้ อาเจียน
- ปวดท้อง ท้องเสีย
- หากผิวหนังหรือดวงตาสัมผัสยางคางคกจะทำให้ระคายเคืองได้
- หากอาการรุนแรงจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน เพ้อ ไปจนถึงชัก
- หรือหมดสติ หรืออาการทางระบบไหลเวียนโลหิต เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้
การรักษา
รักษาตามหลักการรักษาผู้ป่วยที่รับสารพิษ ควบคู่กับการประกับประคองอาการ และติดตามอาการอย่างเหมาะสม
ข้อมูล ณ วันที่ 27 ตุลาคม 2564
ที่มา : อ. พญ.สุทธิมน ธรรมเตโช