- ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2564 พบว่ามีเด็กป่วยด้วยโรคโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีอาการน้อย อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเด็กส่วนหนึ่งมีภาวะปอดอักเสบร่วมด้วย
- ขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA เท่านั้นที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และกำลังมีการศึกษาวัคซีนชนิดอื่นเพิ่มเติมในเด็กกลุ่มอายุต่างๆ
- ปัจจุบันราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประทศไทย แนะนำให้ฉีดวัคซีนในผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ชนิดรุนแรง ซึ่งคือเด็กที่มีโรคประจำตัว ดังนี้
- โรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ
มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 12 ถึง 13 ปี
มีน้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 13 ถึง 15 ปี
มีน้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15 ถึง 18 ปี
หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น) - โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง
- โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคไตวายเรื้อรัง
- โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
- โรคเบาหวาน
- กลุ่มโรคพันธุกรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า
- โรคอ้วน (ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ
- ส่วนเด็กกลุ่มอื่นๆ แนะนำรับวัคซีนเมื่อมีวัคซีนจำนวนมากขึ้นและมีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น
- วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย แต่อาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งสามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม หลังฉีดวัคซีนแล้วยังมีความจำเป็นต้องป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัยเว้นระยะห่าง ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และงดเว้นเข้าที่แออัด
ที่มา
ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อ. ดร. พญ.วรรษมน จันทร์เบญจกุล
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูล ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2564