โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ

Department of Inventory Management

ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ เดิมสังกัดอยู่ใน “ฝ่ายบริหารงานทั่วไป” ซึ่งมีหน่วยงานภายใน 9 หน่วยงาน และได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยแบ่งการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงานพัสดุ เป็น 3 กลุ่มงาน คือ กลุ่มงานบริหารการจัดซื้อ, กลุ่มงานบริหารงานกลางและสัญญา และกลุ่มงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป มีนางจริยา ลัทธศักดิ์ศิริ ดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 โดยยึดถือการปฏิบัติแบบ Check and Balance

ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีการปรับการทำงานของคลังพัสดุ โดยจัดตั้ง “ศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป” อาคาร สก. ชั้นใต้ดิน เพื่อบริการจัดส่งพัสดุถึงมือผู้ใช้ มีการเบิก – จ่ายพัสดุในระบบออนไลน์ ทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการเบิกพัสดุแต่ละหน่วยงานอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ได้ดำเนินการขอปรับโครงสร้างฝ่ายอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 เพื่อให้โครงสร้างฝ่ายถูกต้องตรงกับประกาศโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยแบ่งโครงสร้างเป็น 3 งาน คือ งานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง, งานบริหารงานกลาง และงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป รวมทั้งฝ่ายบริหารงานพัสดุได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติงานมาประจำที่อาคารจอดรถหลังที่ 3 อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 2558 และได้ทำการยกเลิกการให้บริการศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป อาคาร สก. ชั้นใต้ดิน

สายการบริหารปัจจุบันของฝ่ายบริหารงานพัสดุ ขึ้นตรงกับรองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายการคลัง โดยมีผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านจัดซื้อจัดจ้าง เป็นผู้บังคับบัญชา และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ คือ นางสุนิสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ปัจจุบัน มีบุคลากรในฝ่ายบริหารงานพัสดุ จำนวน 48 คน

ผังผู้บริหารของฝ่ายบริหารงานพัสดุ

นางสุนิสา อิศรางกูร ณ อยุธยา
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ

นางสาวอรพรรณ  บุญธรรมรงค์
หัวหน้างานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง

นางสาวกรรณิกา  วินัยพานิช
หัวหน้างานบริหารงานกลาง

นางสาวขวัญลักษณ์  จันทร์วิชิต
หัวหน้างานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป

โครงสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงในการให้บริการของฝ่ายบริหารงานพัสดุ

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เจตจำนง

“คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้”

จัดหาพัสดุที่มีคุณภาพ ราคาเหมาะสม ยกเว้น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และงานก่อสร้าง บริหารจัดการวัสดุ/ครุภัณฑ์ให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า บริหารจัดการงานตรวจรับพัสดุ งานครุภัณฑ์ จำหน่ายพัสดุชำรุดฯ บริจาค อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามระเบียบสภากาชาดไทย คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ ดูแลพัสดุคงคลัง และเบิกจ่ายพัสดุทั่วไป ให้เป็นที่พึงพอใจสำหรับหน่วยงาน ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมกับพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ภาระหน้าที่

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มุ่งมั่นพัฒนาเพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องพัสดุให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เป็นไปตามระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2564 และหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติ ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ ของกลุ่มบริการทางการแพทย์ พ.ศ. 2564 มุ่งเน้น ความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตรวจสอบได้ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้

  1. บริหารการจัดซื้อ/จัดจ้างพัสดุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานภายในโรงพยาบาล ยกเว้น ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ งานก่อสร้างและส่วนประกอบอาคาร
  2. บริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ, งานสินทรัพย์ พร้อมทั้งจำหน่ายพัสดุชำรุด/หมดความจำเป็น/บริจาค
  3. บริหารการรับ – จ่ายพัสดุคงคลัง (วัสดุทั่วไปและอะไหล่ช่าง) ให้กับหน่วยงาน และดูแลเก็บรักษาพัสดุคงคลัง รวมทั้งครุภัณฑ์ส่วนกลาง

รางวัลหรือความภาคภูมิใจ

  1. โครงการ การจัดตั้งศูนย์จ่ายพัสดุ รางวัลชมเชยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (กลุ่มงานสนับสนุนบริการ) ประจำปี 2548
  2. โครงการการจัดหาคู่ค้าหลักในด้านต่างๆ รางวัลชมเชยโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (กลุ่มงานสนับสนุนบริการ) ประจำปี 2548
  3. ผลงานบริการจัดส่งพัสดุถึงมือผู้ใช้บริการภายในโรงพยาบาล รางวัลที่ 2 ประเภทผลสำเร็จของการพัฒนากระบวนการกลุ่มสนับสนุนบริการ การประกวดผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2551
  4. กลุ่ม Delivery Express ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มพัฒนาคุณภาพ (CQI) หน่วยงานสนับสนุน ประจำปี 2552
  5. กลุ่ม สมูตตี้ สตอเบอรี่ ฝ่ายบริหารงานพัสดุ ในการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (CQI) หน่วยงานสนับสนุน ประจำปี 2552
  6. โครงการ Chula Reuse
  7. โครงการ ตลาดนัด ฬ. Market
  8. การบริจาควัสดุ/ครุภัณฑ์หมดความจำเป็นให้กับโรงพยาบาล ศาสนสถาน และสถาบันการศึกษาที่ขาดแคลน

โครงสร้างของฝ่ายบริหารงานพัสดุประกอบด้วย 3 หน่วยงานดังนี้

1. งานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง 

หน้าที่ความรับผิดชอบ

  • งานวางแผนการจัดซื้อและจัดจ้าง งานจัดทำสัญญา
  • งานจัดทำและตรวจสอบข้อกำหนดของงาน และจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสภากาชาดไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2564
  • งานออกใบสั่งซื้อ / สั่งจ้าง / งานออกใบสั่งตามสัญญา   
  • งานขอตั้งรหัสวัสดุ/รหัสครุภัณฑ์
  • งานคืนหลักค้ำประกันสัญญา
  • งานบริการให้คำปรึกษากับหน่วยงานภายในโรงพยาบาล
  • งานประสานคู่ค้าภายนอก

2. งานบริหารงานกลาง

แบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

2.1 งานธุรการ

  • งานสารบรรณ/รับ ส่งเอกสาร
  • งานติดตามเอกสาร
  • งานบริหารบุคลากรของฝ่าย
    • บันทึกประวัติการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
    • ตรวจสอบวันลา และข้อมูลต่าง ๆ ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
    • สวัสดิการภายในของฝ่ายบริหารงานพัสดุ
  • งานพัฒนาคุณภาพของฝ่าย
  • งานโครงการฯ ของฝ่าย

2.2 งานตรวจรับ

  • งานบริหารสัญญา
  • งานตรวจรับพัสดุที่ส่งมอบ ตามใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง
  • งานการจัดส่งพัสดุตามใบสั่งซื้อ/จ้าง
  • งานรับและออกใบวางบิลให้แก่บริษัท, ห้างร้าน
  • งานตรวจสอบเอกสารบริษัท, ห้างร้าน และนำส่งเบิกจ่ายเงิน

2.3 งานสินทรัพย์

  • บันทึกข้อมูลลงทะเบียนครุภัณฑ์และออกบาร์โค้ด
  • จัดทำประวัติครุภัณฑ์ให้หน่วยงานเก็บเป็นหลักฐาน
  • งานโอนย้ายทะเบียนครุภัณฑ์
  • งานลงทะเบียนวัสดุครุภัณฑ์ส่งคืน/ชำรุด/บริจาค
  • งานประมูลจำหน่ายพัสดุชำรุด
  • งานตัดจำหน่ายครุภัณฑ์
  • งานตรวจนับ/จัดทำรายงานครุภัณฑ์ประจำปี

3. หน่วยงานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป

หน้าที่ความรับผิดชอบ 

  • งานวางแผนและบริหารจัดการวัสดุคงคลัง
  • งานควบคุมเบิก – จ่ายคลังวัสดุทั่วไป
  • งานควบคุมเบิก – จ่ายคลังอะไหล่ช่าง
  • งานควบคุมเบิก – จ่ายครุภัณฑ์ส่วนกลาง
  • งานบริหารวัสดุให้มีเพียงพอต่อความต้องการ
  • งานขอตั้งรหัสวัสดุในคลัง
  • งานจัดเก็บรักษาวัสดุคงคลัง
  • รายงานการเบิก-จ่าย-วัสดุคงเหลือประจำเดือน
  • งานตรวจนับและจัดทำรายงานวัสดุคงคลัง

ความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

  1. หน่วยงานและบริษัทแก้ไขคุณลักษณะภายหลังได้รับการอนุมัติในการจัดซื้อ
  2. เอกสารไม่ถูกต้อง และไม่ครบถ้วนทำให้ไม่สามารถคีย์ข้อมูลตรวจรับและส่งเบิกจ่ายเงินได้
  3. บริษัทส่งสินค้าไม่ตรงกับใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง  เช่นผิดสี, ผิดรุ่น, ขนาดไม่ถูกต้อง เป็นต้น
  4. บริษัทส่งของไม่ตรงตามกำหนดส่งมอบงาน
  5. บริษัทส่งของไม่ครบตามจำนวน

อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น  2

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 -16.00 น.
ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่น ๆ

 

ฝ่ายบริหารงานพัสดุได้มีการปฏิบัติงานที่ต้องสอดคล้องและประสานงานร่วมกันกับฝ่ายบัญชีและงบประมาณ ศูนย์บริหารแผนและงบประมาณ หน่วยงานภายในโรงพยาบาลฯ ในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้รับการให้ความช่วยเหลือจากฝ่ายอื่น ๆ เช่น ศูนย์กฎหมาย ในการตรวจสอบสัญญาและการให้คำปรึกษาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งตัวแทนมาเป็นคณะกรรมการต่าง ๆ

 

ข้อมูลสำคัญที่ฝ่ายต้องการเผยแพร่

 

ประกาศในการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ เช่น วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป, วิธีคัดเลือก, วิธีเฉพาะเจาะจง รวมทั้งประกาศการจำหน่ายพัสดุชำรุด/หมดความจำเป็นของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายบริหารงานพัสดุ

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 3224

 

ข้อมูลติดต่อหน่วยงานย่อย

 

ชื่อหน่วยงานย่อย เบอร์โทรศัพท์ สถานที่ติดต่อ
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานพัสดุ 02 256 4000 ต่อ 4102 อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2
งานบริหารการจัดซื้อและจัดจ้าง
– งานจัดซื้อ/จ้าง

– งานสัญญา

02 256 4000 ต่อ 4110, 4169, 4745, 4748, 4840, 4842

02 256 4000 ต่อ 4838, 4839

อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2
งานบริหารงานกลาง
– งานธุรการ
– งานตรวจรับ
– งานพัสดุชำรุด/หมดความจำเป็น
– งานสินทรัพย์
– งานรับ – จ่ายพัสดุจากการจัดซื้อ
02 256 4000 ต่อ 3224
02 256 4000 ต่อ 3016, 4313, 4749
02 256 4000 ต่อ 4743
02 256 4000 ต่อ 4852
02 256 4000 ต่อ 3223
อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2
อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2
อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2
อาคารจอดรถหลังที่ 1 ชั้น 2
อาคารจอดรถหลังที่ 1 ชั้น 2
งานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป
– งานคลังและศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป

– ศูนย์จ่ายพัสดุทั่วไป

02 256 4000 ต่อ 4153, 4271

02 256 4000 ต่อ 3300, 5442

อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 2

อาคารจอดรถหลังที่ 3 ชั้น 1

 

เว็บไซต์หน่วยงาน

http://chulalongkornhospital.go.th/unit/purchasing/

บทความที่เกี่ยวข้อง

สโมสรโรตารียานนาวา บริจาคเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง

สโมสรโรตารียานนาวา บริจาคเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง เพื่อช่วยเหลือและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19

มอบเครื่องกำจัดเชื้อโรคและสารพิษในอากาศยี่ห้อ WELLIS

มอบเครื่องกำจัดเชื้อโรคและสารพิษในอากาศยี่ห้อ WELLIS และอุปกรณ์ป้องกันใบหน้า Face Shield เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และป้องกันการติดเชื้อในการตรวจผู้ป่วยโควิด-19

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดบ้านพักพิง โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮ้าส์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด “บ้านบ้านพักพิง โรนัลด์ แมคโดนัลด์ เฮ้าส์ เพื่อครอบครัวผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์