กัญชามีสารเคมีที่ชื่อว่า tetrahydrocannabinol (THC) ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและถึงขั้น “เคลิ้ม” นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่นที่มีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
มีการศึกษาพบว่ากัญชาทำให้ระดับฮอร์โมน luteinizing hormone (H) จากต่อมใต้สมองลดลง ซึ่งทำให้ไม่เกิดการตกไข่ แต่กลับมาตกไข่ได้หลังจากผ่านไป 3-4 เดือน แต่ก็มีการศึกษาในหนูทดลอง พบว่าการได้รับกัญชามาก ๆ จะสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ซ้ำลงของไข่เข้าสู่มดลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อ การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ ความล้มเหลวในการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และสารเคมีในกัญชา สามารถผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
- การตายคลอด
- การตั้งครรภ์นอกมดลูก
- ภาวะทารกน้ำหนักน้อย
- บางรายงานพบว่าการใช้กัญชาร่วมกับการสูบบุหรี่มีผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
- การพัฒนาสมองของทารกไม่สมบูรณ์ ทารกอาจมีปัญหาการเรียนรู้ และพฤติกรรมในอนาคต
การนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์จึงควรมีการควบคุมและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และไม่แนะนำให้ใช้กัญขาในสตรีตั้งครรภ์แม้จะเป็นแบบรักษาก็ตาม
ข้อมูล ณ วันที่ 12 มกราคม 2563
ที่มา : รศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ