โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

มุ่งมั่นสู่การเป็นผู้นำทางการพยาบาลในระดับสากล


เกี่ยวกับ Heart Failure and Transplant Cardiology

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) ซึ่งเกิดจากสภาวะ ที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง และไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีอาการ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ไม่สามารถนอนราบได้ ขาบวม ท้องบวม และน้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจต้องใช้การรักษาที่สูงขึ้นกว่าการรักษาด้วยยา ได้แก่ การรักษาด้วยการฝังเครื่องประสานการทำงานของหัวใจ (Cardiac implantable electronic devices) หรือ การผ่าตัดใส่ เครื่องพยุงหัวใจ (mechanical circulatory support) หรือ การปลูกถ่ายหัวใจ (heart transplant) เป็นต้น

ผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายหัวใจ เป็นการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวครบวงจรให้ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ (นิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด) และประชาชน รวมถึง การจัดงานประชุมทางวิชาการแก่บุคลากรทางการแพทย์ เป็นประจำทุกปีในระดับชาติ และนานาชาติ (heart failure preceptorship program)

ผลิตงานวิจัย เกี่ยวกับ Heart failure และ Transplant Cardiology สำหรับสังคมไทยและระดับนานาชาติ

บุคลากร

แพทย์เฉพาะทางอนุสาขา heart failure and transplant cardiology 4 ท่าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด 1 ท่าน พยาบาล 5 ท่าน เภสัชกร 5 ท่าน นักกำหนดอาหาร (dietician) 2 ท่าน นักวิทยาศาสตร์ 1 ท่าน ผู้ช่วยพยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่พยาบาล 1 ท่าน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 1 ท่าน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ท่าน และหน่วยงานภายนอกคลินิกฯ ซึ่งประสานงาน ปรึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ นักกายภาพ (Cardiac rehabilitation) in collaboration ศัลยศาสตร์ หัวใจและทรวงอก และอนุสาอื่นๆ ของอายุรศาสตร์หัวใจ รวมถึงแผนกอื่น ๆ

อาคาร ภปร. ชั้น 14

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

รับการปรึกษาและ ส่งต่อจากแพทย์ (อายุรแพทย์หัวใจ และหรือ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก) ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และ นอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อีกต่อหนึ่ง ไม่รับผู้ป่วย walk in หรือ self – referral

 

ชื่อคลินิก

คลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว

 

เบอร์ติดต่อภายใน

02 256 4000 ต่อ 5371

บทความที่เกี่ยวข้อง

แถลงข่าว จัดทีมแพทย์ “คลินิกเคลื่อนที่”ช่วยเหลือผู้พิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ..ฟรี

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดงานแถลงข่าว  “คลินิกเคลื่อนที่” ช่วยเหลือผู้พิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ให้เข้าถึงการตรวจรักษาที่มีคุณภาพสูงสุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รพ.จุฬาลงกรณ์ เปิดตัวคลินิกการได้ยินและการทรงตัวขั้นสูง

กิจกรรมเสวนาภาคประชาชนในหัวข้อ “ปัญหาการได้ยิน-ภัยเงียบที่กำลังคร่าสมองคุณ เตรียมความพร้อมประเทศไทยสำหรับสังคมผู้สูงอายุ ปัญหาการได้ยินความเสี่ยงสูงสุดที่ป้องกันได้ของภาวะสมองเสื่อม”

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ต้องอาศัยการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็ว เฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและให้การรักษาอย่างเหมาะสม โรคนี้พบบ่อยในฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีซึ่งมี 4 ชนิดและมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กโต วัยรุ่น และผู้ใหญ่อายุน้อย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์