หากมีพฤติกรรมหรืออาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์หูคอจมูก
- ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน รู้สึกหูอื้อตลอดเวลา
- ปวดหู
- มีเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงหึ่ง ๆ หรือ วี๊ด ๆ คล้ายเสียงจิ้งหรีด
- ได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้หรือความสามารถในการฟังลดลงเมื่ออยู่ในที่ที่มีเสียงดัง
- มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ใส่หูฟังและฟังเสียงดังมาก ๆ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานๆ
วิธีป้องกันประสาทหูชั้นในเสื่อม
- ปรับลดระดับความดัง หากใส่หูฟังควรปรับระดับความดังไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ของความดังสูงสุดของเครื่อง ใส่หูฟังที่ขนาดพอดีกับรูหู และควรมีระบบตัดเสียง (noise cancelling)
- จำกัดการทำกิจกรรมที่ต้องสัมผัสเสียงดัง จำกัดระยะเวลาการใส่หูฟัง หากต้องอยู่ในที่เสียงดัง เช่น สถานบันเทิง เล่นกีฬาที่มีเสียงดัง ควรมีช่วงพักหู ไม่ฟังเสียงดังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- ติดตามระดับความดังของเสียง หากสัมผัสเสียงดัง 80 เดซิเบล ไม่ควรนานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- ใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเช่น ที่อุดหู (ear plug) ที่ครอบหู (ear muff) ถ้าต้องสัมผัสเสียงดัง
- หากมีการอักเสบของหูควรพบแพทย์เพื่อรักษา
- ควรตรวจประเมินการได้ยินเป็นประจำทุกปี
ผศ.พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์
ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา
ข้อมูล ณ วันที่ : 14 กันยายน 2567