โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

เวชพันธุศาสตร์กับเทคโนโลยีทางการแพทย์แห่งอนาคต

หลายครั้งที่เราได้ชมภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์แล้วเกิดความตื่นเต้นที่มาพร้อมกับความสงสัยว่า เทคโนโลยีสุดล้ําแห่งอนาคต โดยเฉพาะการตัดต่อและสร้างรหัสพันธุกรรมในมนุษย์ที่นํามาซึ่งผลลัพธ์ อันน่าเหลือเชื่อเหล่านั้นเป็นไปได้จริงหรือไม่ ? ความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ที่ใช้ทางการแพทย์ และมารู้จักกับวิธีการรักษาโรคทางพันธุกรรมที่คนในยุคนี้สมัยนี้มีโอกาสและมีทางเลือกมากขึ้น

ศ.ดร.พญ.กัญญา ศุภปีติพร อาจารย์ประจําสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาสัย อธิบายถึงเวชพันธุศาสตร์ว่า เป็นศาสตร์ทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการดูแลรักษารวมทั้ง การป้องกันโรคทางพันธุกรรมหรือภาวะที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยข้อจํากัดในอดีตทําให้พบว่า มีหลายโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยไม่ทราบสาเหตุ แพทย์ผู้รักษาทําได้แค่เพียงวินิจฉัยและรักษาโรคตามอาการเท่านั้น แต่ในปัจจุบันองค์ความรู้ทางเวชพันธุศาสตร์ได้ไขความกระจ่างแล้วว่าโรคเหล่านั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกที่ทางพันธุกรรมนั่นเอง

ศ.ดร.พญ.กัญญา กล่าวว่า ยิ่งมีการศึกษาและทําความเข้าใจในปัจจัยทางพันธุกรรมมากขึ้น ก็ยิ่งทําให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคเป็นไปอย่างมีเป้าหมายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกระแสหรือเทรนด์การรักษาโรคแบบเฉพาะเจาะจงใน แต่ละบุคคล “Precision Medicine” หรือที่เรียกว่า “การแพทย์แม่นยํา” อีกทั้ง “Targeted Therapy” การรักษาแบบมุ่งเป้า ตัวอย่างที่ เห็นได้ชัด เช่น การรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จําเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งซึ่งนับเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสาร พันธุกรรมร่วมด้วยความก้าวล้ําทางการแพทย์เหล่านี้กําลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงการแพทย์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เวชพันธุศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่น่าจับตามอง เพราะการรักษาโรค แบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละบุคคลจะเกิดขึ้นได้นั้น จําเป็นต้องใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของ ผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนและแตกต่างกันเพื่อเลือกวิธีการรักษาและเลือกใช้ยาที่มีคุณสมบัติและปริมาณแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย

ศ.ดร.พญ.กัญญา กล่าวถึงการศึกษาโรคทางพันธุกรรมทําให้เกิดความรู้และความเข้าใจ ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ และกลไก ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค ซึ่งนําไปสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาการรักษาหรือการผลิตยาชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพ โรคทางพันธุกรรมที่เป็นที่รู้จัก อาทิ โรคฮีโมฟีเลียเอ ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซม X ผู้ป่วยโรคนี้จะขาดโปรตีน ชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด โปรตีนเหล่านี้รู้จักกันในชื่อว่า “แฟคเตอร์ (Factor)” ทําให้เลือดออกง่ายหยุดยากกว่าปกติ การรักษาในสมัยก่อนเริ่มจากการให้ผลิตภัณฑ์จากพลาสมา เพื่อทดแทนแฟคเตอร์ที่ขาดด้วยองค์ความรู้ทางเวชพันธุศาสตร์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ทําให้นักวิจัยสามารถพัฒนาการรักษาไปสู่การให้แฟคเตอร์เข้มข้น ซึ่งสามารถรักษาโรคฮีโมฟีเลียเอได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้นและผลข้างเคียงน้อยลง จะเห็นได้ว่า ความสําเร็จของการศึกษาวิจัยนําไปสู่การพัฒนาและประยุกต์ใช้ ในเวชปฏิบัติมากขึ้น

การรักษาโรคทางพันธุกรรมบางชนิดในปัจจุบัน สามารถกระทําได้โดยการให้ เอนไซม์ทดแทนและการปลูกถ่ายไขกระดูก นอกจากนี้ ศ.ดร.พญ.กัญญา ยังกล่าวด้วยว่าการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีการแก้ไขดัดแปลง สารพันธุกรรมอย่างต่อเนื่องได้ สร้างนวัตกรรมการตัดต่อพันธุกรรมและทําให้เพิ่มโอกาสและความเป็นไปได้ ของการรักษาโรคทางพันธุกรรมโดยยืนบําบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคทางพันธุกรรม อีกหลายโรค ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้

ด้านการป้องกันโรค การให้ความรู้และคําปรึกษาทางพันธุกรรมสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดซ้ําในครอบครัวได้ เช่น การตรวจ หาความผิดปกติทางพันธุกรรมของผู้ที่เป็นโรคเพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจหาสมาชิกอื่นๆ ในครอบครัวที่มีความเสี่ยงการตรวจการเป็นพาหะ การให้การวินิจฉัยก่อนคลอด เป็นต้น นอกจากนี้ การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมระยะก่อนการฝังตัว หรือ Preimplantation Genetic Diagnosis (PGD) เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการป้องกันโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้นในบุตรตั้งแต่ต้นทาง

“ยิ่งมีการศึกษาและทําความเข้าใจในปัจจัยทางพันธุกรรมมากขึ้น
ก็ยิ่งทําให้การวินิจฉัยและการรักษา
เป็นไปอย่างมีเป้าหมายและประสิทธิภาพมากขึ้น”

สําหรับความก้าวหน้าที่เหนือความคาดคิดของเวชพันธุศาสตร์ ศ.ดร.พญ.กัญญา อธิบายเสริมว่า การศึกษา คิดค้น และสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ที่ใช้ปัจจัยทางพันธุกรรมของมนุษย์ แบบเหนือจินตนาการ ดังที่ได้เห็นในภาพยนตร์ต่างประเทศนั้น ด้วยองค์ความรู้ทางเวชพันธุศาสตร์สามารถจะนําพาให้ไปถึง ณ จุดนั้นได้ เพราะจากอดีตถึงปัจจุบัน มนุษย์สามารถโคลนนิ่งสัตว์ และตัดต่อพันธุกรรม ในสัตว์ได้สําเร็จ เพียงแต่การทําสิ่งเหล่านี้ในมนุษย์มีความซับซ้อนในหลากหลายมิติที่จําเป็นต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดยิ่ง อาจกล่าวได้ว่า พันธุศาสตร์มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล แต่ก็อาจให้โทษอย่างมหันต์ได้เช่นเดียวกัน

สําหรับแวดวงวิชาการด้านเวชพันธุศาสตร์ในประเทศไทย สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมแทบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศที่เปิดการเรียนการสอน สาขาเวชพันธุศาสตร์ในระดับแพทย์ประจําบ้านต่อยอด นอกจากนั้นยังได้เข้าร่วมโครงการวิจัย ทางเวชพันธุศาสตร์ (Medical Genetics) ในระดับนานาชาติ โดยสาขาวิชาฯได้ทํางานร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อพัฒนาการรักษาในผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมบางชนิด ทําให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่จําเพาะต่อโรค สามารถกลับสู่ภาวะใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอาจกล่าวได้ว่า เวชพันธุศาสตร์ คือทางออกของการรักษาโรคทางพันธุกรรม เพราะประโยชน์ของศาสตร์แขนงนี้สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยช่วยลดความพิการ หรือความเจ็บปวดที่ผู้ป่วยต้องเผชิญในอดีต และเมื่อสามารถรักษาแบบเฉพาะเจาะจงได้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยจะได้รับจากการใช้ยาอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้ภาพสนามแม่เหล็ก

การพัฒนานำเทคโนโลยีการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กมาใช้ร่วมกับการอัลตราซาวนด์เสมือนการสร้างแผนที่นำทางเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ

Intraoperative Neurophysiologic Monitoring
เพื่อการฟื้นตัวไวและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด

เทคโนโลยีการเฝ้าระวังการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติระหว่างผ่าตัด คือ Intraoperative Bulbocavernosus Reflex Monitoring มาช่วยระหว่างการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของไขสันหลังส่วนก้นแต่กำเนิดในผู้ป่วยเด็ก

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า

Deep Brain Stimulation หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า นวัตกรรมการรักษาทางเลือกใหม่โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์