โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

เครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติ ที่แรกและที่เดียว ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลเป็นด่านหน้าที่ต้องทำงานอย่างหนักในการตรวจเชื้อผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่เป็นมาตรฐาน ได้แก่ การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Real-time RT PCR ทั้งนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการตรวจมีความเสี่ยงจะติดเชื้อในระหว่างขั้นตอนการตรวจดังกล่าวได้ แม้จะมีความเชี่ยวชาญหรือสวมชุดป้องกันอย่างรัดกุมก็ตาม ล่าสุดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้มีการรับมอบเครื่องมือตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 มูลค่า 15 ล้านบาท จากกลุ่มธุรกิจ TCP โดย คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา และ คุณรัชสุดา อยู่วิทยา เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่โรงพยาบาลในการรับมือกับสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลแรกที่เปิดให้บริการในประเทศไทย

ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ และหัวหน้าหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า เครื่องตรวจโควิด-19 รุ่น Cobas 6800 ซึ่งใช้น้ำยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาในการตรวจหา SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 เครื่องตรวจนี้สามารถใช้ตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีความแม่นยำ สามารถตรวจได้ประมาณวันละ 1,440 ราย ถ้าทำการใส่ตัวอย่างต่อเนื่องกัน โดย รอตรวจเป็นรอบทำให้ระยะเวลาที่รอผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการสั้นลง

จุดเด่นของเครื่องตรวจโควิด-19 เครื่องมือนี้มีหลายประการคือ

  • ลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน : กระบวนการตรวจเป็นระบบอัตโนมัติ จึงช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานในการตรวจหาเชื้อได้มาก
  • แม่นยำสูง : สามารถยืนยันผลการติดเชื้อได้อย่างแม่นยำถึง 99% โดยการตรวจยีนของไวรัส 2 ชนิด (และถ้ามีผลที่ชัดเจน หน่วยไวรัสมีระบบยืนยันผลด้วยการตรวจอีก 3 ยีน)
  • มีการรับรองระดับสากล : ได้รับการอนุมัติมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ผลสอดคล้องกับวิธีการตรวจแบบมาตรฐานของประเทศไทย ทำการวิเคราะห์หาเชื้อได้สูงสุดถึง 1,440 ตัวอย่างต่อ 24 ชั่วโมง
  • ลดเวลาในการตรวจหาเชื้อ : สามารถรู้ผลได้เร็วภายใน 3 – 5 ชั่วโมงสำหรับการทำงานในช่วงแรก หลังจากนั้น ในการเพิ่มตัวอย่างรอบถัดมาสามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาเพียง 90 นาทีเท่านั้นถ้าใส่ตัวอย่างเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

สำหรับขั้นตอนการทำงานของเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติ ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวว่า ลำดับแรกจะเป็นการนำน้ำที่ป้ายจากหลังคอและลำคอของผู้รับการตรวจมาแบ่งใส่ในหลอดชุดตรวจสอบ จากนั้นนำไปใส่ในเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติ ซึ่งจะทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ได้แก่ การสกัด การเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมของไวรัสและการตรวจสารพนั ธกุ รรมทีเ่ พิม่ ขึน้ ผลการตรวจนี้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องตรวจ ซึ่งการเชื่อมต่อนี้จะเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในระหว่างการตรวจหาเชื้อ

ปัจจุบันเครื่องตรวจโควิด-19 อัตโนมัติได้เริ่มให้บริการแก่ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลภายนอกแล้ว โดยสัดส่วนของผู้ขอรับบริการจากภายนอกมีมากกว่าภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่ได้ตรวจเต็มกำลัง เนื่องจากมีปริมาณตัวอย่างไม่ถึง อย่างไรก็ดี คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะสามารถให้บริการตรวจโควิด-19 ได้อย่างเต็มที่ถึง 1,440 ตัวอย่างต่อวัน สำหรับผู้ที่ต้องการรับบริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยตนเอง เพราะสามารถติดต่อเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลอื่นแล้วส่งตัวอย่างมาตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เช่นกัน

ขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่ช่วยประสานงานในการนำเข้าอุปกรณ์และชุดตรวจจากต่างประเทศให้มาถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อย่างราบรื่นและรวดเร็วที่สุด

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ หัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์ทั่วไปสาย G2 และหัวหน้าหน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์ หัวหน้าฝ่ายจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร.ภาวพันธ์ ภัทรโกศล ฝ่ายจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผศ.นพ.เอกสิทธิ์ โกวิทย์ดำรงค์ ฝ่ายจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้ภาพสนามแม่เหล็ก

การพัฒนานำเทคโนโลยีการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กมาใช้ร่วมกับการอัลตราซาวนด์เสมือนการสร้างแผนที่นำทางเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ

Intraoperative Neurophysiologic Monitoring
เพื่อการฟื้นตัวไวและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด

เทคโนโลยีการเฝ้าระวังการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติระหว่างผ่าตัด คือ Intraoperative Bulbocavernosus Reflex Monitoring มาช่วยระหว่างการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของไขสันหลังส่วนก้นแต่กำเนิดในผู้ป่วยเด็ก

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า

Deep Brain Stimulation หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า นวัตกรรมการรักษาทางเลือกใหม่โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์