โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ปัญหาสายตา VS ชีวิตหน้าจอฯ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ชีวิตติดหน้าจอของทุกเพศทุกวัยในยุคสมัยนี้ ทั้งเกมออนไลน์ โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือการทํางานหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตาที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว เรามีเรื่องราวน่ารู้จากจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคนิคถนอมสายตาที่ทุกท่านไม่ควรพลาดมาฝากกันค่ะ

รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ หัวหน้าศูนย์เลเซอร์สายตา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยจํานวนมากที่เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์เลเซอร์สายตาด้วยอาการ Computer Vision Syndrome นั่นคือ การใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ทําให้กล้ามเนื้อดวงตาเกร็งตัว จะสังเกตได้ว่าเมื่อเงยหน้าขึ้นแล้วมองไปบริเวณรอบข้างภาพจะไม่ชัด พร่ามัว เพราะกล้ามเนื้อคลายตัวได้ช้า เมื่ออายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดตา แต่ปัจจุบันเราใช้สายตากับหน้าจอมากขึ้น เด็กวัยรุ่นและวัยทํางานก็จะมีอาการวุ้นตาเสื่อมกันมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่มีสายตาสั้นก็จะมีโอกาสที่คุ้นตาและจอตาจะเสื่อมง่ายกว่าผู้ที่สายตาปกติ

ข้อแนะนำเมื่อจำเป็นต้องใช้สายตาอยู่กับหน้าจอเป็นระยะเวลายาวนาน คือการพักสายตาทุกๆ 20 นาที ด้วยการมองออกไปในระยะไกลๆ ประมาณ 5-10 นาที ให้กล้ามเนื้อคลายตัว แต่ไม่ควรพักจากหน้าจอมาอ่านหนังสือ แม้หนังสือจะไม่มีแสงออกมาเหมือนหน้าจอ แต่ก็เป็นการใช้สายตาระยะใกล้เหมือนกัน

นอกจากนี้การสวมแว่นกรองแสงสีฟ้า การใส่ฟิลเตอร์กรองแสงให้กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต การตั้งค่าความสว่างหน้าจอ รวมไปถึงท่านั่งที่ต้องรักษาระยะห่างจากหน้าจอตาลงไปประมาณ 10-15 องศา ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันได้

ทั้งนี้การทํางานที่ต้องใช้สายตาเพ่งหน้าจอในห้องปรับอากาศก็เป็นสาเหตุของอาการตาแห้งอีกด้วย ปกติแล้วน้ำในตาของเรามีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ชั้นในคือชั้นที่ติดกับกระจกตา ชั้นกลางเป็นชั้นน้ำ และชั้นนอกเป็นชั้นน้ำมัน เมื่อเกิดอาการตาแห้งน้ำที่หล่อเลี้ยงตาเหล่านี้ลดลง เมื่อกะพริบตาจะรู้สึกแสบตา กระบวนการทํางานของลูกตาก็ตอบสนองให้น้ำตาไหลออกมานั้นเอง เทคนิคที่จะช่วยลดอาการเหล่านี้ได้ง่ายๆ คือการเติมน้ำตาเทียม และการตั้งน้ำเปล่าอย่างน้อยหนึ่งแก้วไว้ในห้องเพื่อรักษาความความชุ่มชื้นนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้ภาพสนามแม่เหล็ก

การพัฒนานำเทคโนโลยีการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กมาใช้ร่วมกับการอัลตราซาวนด์เสมือนการสร้างแผนที่นำทางเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ

Intraoperative Neurophysiologic Monitoring
เพื่อการฟื้นตัวไวและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด

เทคโนโลยีการเฝ้าระวังการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติระหว่างผ่าตัด คือ Intraoperative Bulbocavernosus Reflex Monitoring มาช่วยระหว่างการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของไขสันหลังส่วนก้นแต่กำเนิดในผู้ป่วยเด็ก

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า

Deep Brain Stimulation หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า นวัตกรรมการรักษาทางเลือกใหม่โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์