โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

อาการฟกช้ำและปวดเคล็ด

ในชีวิตประจำวันของคนเราที่ต้องทำสิ่งต่างๆ มากมายตลอดทั้งวัน เราอาจพบเจออุบัติเหตุต่างๆ ระหว่างวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการฟกช้ำได้ทั้งโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงมาก แต่ก็ควรทราบวิธีการดูแลอย่างถูกต้อง เพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้นหากเกิดเหตุการณ์กับตนเอง

สาเหตุและอาการฟกช้ำ

ฟกช้ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับส่วนต่างๆ ของร่างกายเมื่อถูกกระแทก หรือถูกชน หรือถูกต่อย ทำให้มีเลือดออกในชั้นใต้ผิวหนังมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแรงที่มากระทบ

สำหรับผู้สูงอายุแม้แรงกระทบมีไม่มากแต่เนื่องจากเนื้อเยื่อและเส้นเลือดภายในร่างกายค่อนข้าง

เปราะบาง จึงเกิดการฟกช้ำได้ง่าย และอาจมีเลือดเป็นจ้ำๆ ห้อเลือดทั่วไปตามร่างกาย หรือในบางรายที่หลังถูกกระแทก และไม่ได้รับการรักษาเบื้องต้นอย่างถูกวิธี อาจทำให้การฟกช้ำของหลังมีมากได้

การรักษา

การรักษาแผลฟกช้ำ แบ่งเป็น…

มีอาการฟกช้ำในภาย 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบเย็น ด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-30 นาที ส่วนรอยช้ำบริเวณศีรษะและใบหน้าให้ประคบด้วยน้ำแข็ง หรืออาจใช้ผ้าม้วนให้หนาพอ กดบริเวณที่ฟกช้ำเพื่อลดบวม

มีอาการฟกช้ำหลัง  48 ชั่วโมงแรก ควรประคบร้อน วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15  นาที อาการบวมจะค่อยๆ ลดลง ปกติภาวะฟกช้ำจะดีขึ้นและหายได้ภายใน 10-14 วัน

ปกติภาวะฟกช้ำจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ภายใน 10-14 วัน ในกรณีที่ยังไม่หายและมีอาการหลงเหลืออยู่ หรือบางครั้งฟกช้ำมากๆ จนมีเลือดที่ออกมาใต้ผิวหนังสะสมอยู่โดยที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมกลับได้หมด ในกรณีนี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อการตรวจรักษาและเอาเลือดที่คั่งค้างอยู่ออก

สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

แผนกอายุรศาสตร์คลินิกเฉพาะโรค อาคาร ภปร ชั้น 3 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สอบถามรายละเอียด ขั้นตอนการเข้ารับบริการผู้ป่วย ได้ที่ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
อาคาร ภปร ชั้นล่าง
โทร 0-2256-5487

บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน

วิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะยกระดับมาสู่ "เครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน"

5 โรคติดเชื้อในเด็กที่ควรระวังในฤดูหนาว

โรคติดเชื้อในเด็กในช่วงฤดูหนาวมี 3 กลุ่มโรคและ 5 โรคสำคัญคือ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจได้แก่ โควิด-19 (COVID-19) โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคติดเชื้ออาร์เอสวี (RSV) โรคติดเชื้อของระบบทางเดินอาหารได้แก่ โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า และโรคไข้ออกผื่นได้แก่ โรคอีสุกอีใส

รู้จักมะเร็งในช่องปาก

ปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่ทำให้เกิดโรค มะเร็งช่องปาก รวมถึงวิธีการรักษาและการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์