โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ทางเลือกใหม่ ลดปวดเรื้อรัง – ออฟฟิศซินโดรม ด้วย Shock Wave

สิ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตและการทํางานอย่างหนึ่งของคนยุคนี้สมัยนี้ คงหนีไม่พ้นอาการปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มอาการยอดฮิตที่มักพบในมนุษย์ เงินเดือนอย่าง “ออฟฟิศซินโดรม” หรืออาการปวด ตามส่วนต่างๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง ฯลฯ ซึ่งเกิดจากการนั่งทํางานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะ เวลานานติดต่อกันหลายชั่วโมง โดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หากเราสอง ค้นหาวิธีการรักษาโรค จําพวกนี้จาก Google จะพบว่ามีมากมายหลากหลายวิธี ตั้งแต่การนวดการทํากายภาพบําบัด หรือการรับประทานยาฯลฯ แต่ท่านผู้อ่าน ทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันมีการรักษาด้วยทางเลือกใหม่ ที่กําลังอยู่ในกระแสและให้ผลลัพธ์ทางการแพทย์ที่น่าพึงพอใจ นั่นคือ “Shock Wave” คอลัมน์ “บอกเล่าก้าวทันหมอ” ฉบับนี้ มีโอกาสได้มาพูดคุยกับอาจารย์แพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่ออัพเดตเรื่องราวของเทคโนโลยีใหม่ ล่าสุดให้เราได้รู้จักกันมากขึ้น

อ.นพ.ภัทรพล ยศเนืองนิตย์ อาจารย์ประจําภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายว่า “Shock Wave หรือ คลื่นกระแทก” เป็นเครื่องมือรักษาทาง กายภาพบําบัดชนิดหนึ่ง อาศัยหลักการ ของคลื่นกระแทก หรือ Shockwave ที่มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่จําเพาะ ซึ่งเมื่อใช้คลื่นพลังงานดังกล่าวกับพยาธิสภาพความผิดปกติที่เหมาะสม พบว่าสามารถ ให้ผลการรักษาที่ดี ได้โดย Shock wave มีผลการรักษาทางด้านการลดปวดและการเพิ่มปัจจัย ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ที่บาดเจ็บเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มโรคที่เหมาะจะรักษาด้วยเทคโนโลยีนี้ ก็คือ กลุ่มความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น หรืออาการที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ โรครองช้ำ หรือภาวะเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และโรคออฟฟิศซินโดรม การรักษาทาง กายภาพบําบัดด้วย Shock Wave มีชื่อว่า Extracorporeal Shock Wave Therapy หรือย่อว่า “ESWT” นั่นเอง

อ.นพ.ภัทรพล กล่าวว่า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพของการรักษาอาการ ปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อสะบักด้วย ESWT ชนิด Radial พบว่า ผู้ป่วย มีอาการปวดลดลงภายหลังการรักษาตั้งแต่ครั้งแรก และหายปวดภายหลัง การรักษาอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 – 4 ครั้ง

เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยความร้อนลึก ที่มาจากคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรือ Therapeutic Ultrasound ผลการศึกษาพบว่า ทั้งสองวิธีการรักษามีผลลัพธ์การรักษา ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave) มีความพึงพอใจในแง่การลดอาการปวด ความสะดวกในการมารับการรักษา เนื่องจากการรักษาด้วย therapeutic ultrasound นั้น ผู้ป่วยจําเป็น ต้องมาโรงพยาบาลสัปดาห์ละ 2 ถึง 3 ครั้ง แต่ในกรณีของการรักษาด้วย Shock wave ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเท่านั้น

ถึงแม้ว่า Shock Wave จะเป็นเครื่องมือช่วยลดอาการปวดล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพในรักษาโรค ปวดเรื้อรัง และโรคออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี อ.นพ.ภัทรพล อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า อย่างไรก็ตาม Shock Wave ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา นอกเหนือไปจากการปรับอิริยาบถและ กิจวัตรประจําวันการกิน หรือทายาตามอาการการทํากายภาพบําบัดในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้การรักษามากกว่า 1 วิธี สําหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ด้วย Shock Wave นั้น จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และจําเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเห็นผลในการรักษาอย่างยั่งยืน จุดเด่นของการรักษาด้วย Shock wave เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือทางกายภาพบําบัดอื่นๆ คือจํานวนครั้งใน การรักษาต่อสัปดาห์น้อยกว่า และให้ผลการรักษาที่เร็วกว่า

ถึงแม้ว่า Shock Wave จะเป็นเครื่องมือช่วยลดอาการปวดล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพในรักษาโรค ปวดเรื้อรัง และโรคออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี อ.นพ.ภัทรพล อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า อย่างไรก็ตาม Shock Wave ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา นอกเหนือไปจากการปรับอิริยาบถและ กิจวัตรประจําวันการกิน หรือทายาตามอาการการทํากายภาพบําบัดในผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้การรักษามากกว่า 1 วิธี สําหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ด้วย Shock Wave นั้นจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู และจําเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเห็นผลในการรักษาอย่างยั่งยืน จุดเด่นของการรักษาด้วย Shock wave เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือทางกายภาพบําบัดอื่นๆ คือจํานวนครั้งใน การรักษาต่อสัปดาห์น้อยกว่า และให้ผลการรักษาที่เร็วกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคโนโลยีกำหนดตำแหน่งการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้ภาพสนามแม่เหล็ก

การพัฒนานำเทคโนโลยีการถ่ายภาพสนามแม่เหล็กมาใช้ร่วมกับการอัลตราซาวนด์เสมือนการสร้างแผนที่นำทางเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ

Intraoperative Neurophysiologic Monitoring
เพื่อการฟื้นตัวไวและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการผ่าตัด

เทคโนโลยีการเฝ้าระวังการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติระหว่างผ่าตัด คือ Intraoperative Bulbocavernosus Reflex Monitoring มาช่วยระหว่างการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของไขสันหลังส่วนก้นแต่กำเนิดในผู้ป่วยเด็ก

การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า

Deep Brain Stimulation หรือการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึกด้วยไฟฟ้า นวัตกรรมการรักษาทางเลือกใหม่โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์